กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอลอตันหยง

1. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอลอตันหยง 2. ในชุมชน 5 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านคอลอตันหยง, หมู่ที่ 2 บ้านบาโงสาฆอ, หมู่ที่ 4 บ้านต้น สะท้อน, หมู่ที่ 5 บ้านกาแลกูมิ, หมู่ที่ 6 บ้านไร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอยุจะกระทบต่อสภาพสังคมของพื้นที่โดยเฉพาะมิติด้านสุขภาพ
ในพื้นที่ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีผู้สูงอายุจำนวน 300 คนซึ่งเป็นความรับผิดชอบดูแลร่วมกันของทุกฝ่าย โดยเฉพาะเป็นภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตามกฎหมายประกอบกับความคาดหวังของชุมชนเพราะองค์กรปกครองท้องถิ่นอยู่ใกล้ชิดประชาชนที่สุด ทั้งนี้ยังต้องอาศัยความร่วมมือโดยเฉพาะการดูแลสุขภาพจากหน่วยบริการสาธารณสุขและ อสม.ในพื้นที่
การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าผู้สูงอายุสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย สร้างความไม่สบายใจ และความกังวลอย่างมากให้กับญาติและผู้ดูแลจึงเป็นความเร่งด่วนที่ควรดูแลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆเพราะผู้สูงอายุมักมีปัญหาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต เนื่องมาจากการเสื่อมสมรรถภาพของร่างกายตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีสุขภาพดี มีความสุขทั้งกายและจิตใจทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น ทั้งนี้บุคคลในครอบครัวมีบทบาทสำคัญมากในการดูแลผู้สูงอายุ ต้องเข้าใจปัญหา เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไปจำเป็นต้องสร้างความรู้ให้ผู้ดูแล ต้องเข้าใจว่าความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีวิธีดูแลผู้สูงอายุวิธีจัดสภาพแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุจัดโภชนาการที่ดีสำหรับผู้สูงอายุปัญหาและวิธีรับมือการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งทางกายและทางใจ ทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล
โดยในทางสาธารณสุขใช้ประเมินกิจวัตรประจําวัน โดยใช้ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ เพื่อแยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.ภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ: very low initial score, total dependence 2.ภาวะพึ่งพารุนแรง : low initial score, severe dependenc 3.ภาวะพึ่งพาปานกลาง : intermediate initial score, moderately severs dependence 4.ไม่เป็นการพึ่งพา : intermediate high, mildly severs dependence, consideration of discharging homeเป็นเครื่องมือสำคัญในการเฝ้าระวังและวางแผนดูแลผู้สู.อายุ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอลอตันหยงจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุปีงบ 2567 เพื่อมุ่งให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินและจำแนกกลุ่มการพึ่งพาด้านสุขภาพ (ADL) เพื่อการดูแลต่อเนื่อง และให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินการปฏิบัติตัวในกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

48.00 32.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

48.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้กับ อสม.ทุกคนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้กับ อสม.ทุกคนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ให้กับ   คณะทำงานในพื้นที่ (ไม่ได้ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 1 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมคณะทำงานในพื้นที่จำนวน 1 ครั้ง/42 คน มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คณะทำงานฯ ลงพื้นที่ประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ (ไม่ได้ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนในการลงพื้นที่ 10 ครั้ง/ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง 200 คน (ร้อยละ 100)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมสรุปผลการลงพื้นที่ประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ เพื่อแยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.ภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ: very low initial score, total dependence 2.ภาวะพึ่งพารุนแรง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการลงพื้นที่ประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบารเธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ เพื่อแยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.ภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ: very low initial score, total dependence 2.ภาวะพึ่งพารุนแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการลงพื้นที่ประเมินกิจวัตรประจําวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living : ADL) ในผู้สูงอายุ เพื่อแยกประเภทของผู้สูงอายุออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.ภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ: very low initial score, total dependence 2.ภาวะพึ่งพารุนแรง : low initial score, severe dependenc   3.ภาวะพึ่งพาปานกลาง : intermediate initial score, moderately severs dependence     4.ไม่เป็นการพึ่งพา : intermediate high, mildly severs dependence, consideration of discharging home (ไม่ได้ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2567 ถึง 3 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมคณะทำงานฯ สรุปการคัดกรองผู้สูงอายุ จำนวน 1 ครั้ง/ได้มีการคัดกรองผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการ พึ่งพาจำนวน 100 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการ พึ่งพาจำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการพึ่งพา จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน - ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 คน x จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 420 บาท x จำนวน 5 ชั่วโมง x จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 4,200 บาท
รวมเป็นเงิน 14,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 16 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการพึ่งพา จำนวน 100 คน
ผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการพึ่งพา มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการพึ่งพามีความพึงพอใจในระดับมาก
ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่ไม่เป็นการพึ่งพาสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 คน x จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 420 บาท x จำนวน 5 ชั่วโมง x จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 4,200 บาท
                                                                                                    รวมเป็นเงิน 14,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2567 ถึง 23 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 100 คน
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในระดับมาก
ร้อยละ 90 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14200.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแล ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแล ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินและจำแนกกลุ่มการพึ่งพาด้านสุขภาพ (ADL) เพื่อการดูแลต่อเนื่อง ร้อยละ 100 ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินและจำแนกกลุ่มการพึ่งพาด้านสุขภาพ (ADL) เพื่อการดูแลต่อเนื่อง
2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถให้การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น


>