กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตำบลสมหวัง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกงหรา

ตำบลสมหวัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

50.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

20.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

20.00
4 ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

 

10.00
5 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

150.00
6 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

120.00
7 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

200.00
8 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

10.00
9 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

50.00
10 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

350.00
11 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

30.00

หลักการและเหตุผล
คุณภาพชีวิตที่ดี เป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกาย และจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และมีแนว โน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2566 พบว่าจังหวัดพัทลุงมีผู้สูงอายุจำนวน 96,916 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 390,496 คนคิดเป็นร้อยละ24.78 ซึ่งเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aging Society)และตำบลสมหวัง มีผุ้สูงอายุจำนวน 1,136 คน จากประชากรทั้งหมด 3,817 คน คิดเป็นร้อยละ 29.76 และจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ยังไงก็ตามจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ ได้นำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย ทำให้มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเอง จึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพให้รองรับและสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุ โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข คือ 1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention & Protection Excellence)2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence)3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)4) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี”
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงาน การส่งเสริม ป้องกัน และสร้างสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติอำเภอกงหราจึงได้จัดดำเนินโครงการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวม ประจำปี 2564 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในวัยสูงอายุมีความรู้ ตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองและครอบครัว อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งบุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุโดยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

20.00 25.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

50.00 30.00
3 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

20.00 25.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

150.00 135.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

30.00 50.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

50.00 40.00
7 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

10.00 20.00
8 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

350.00 500.00
9 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

120.00 200.00
10 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

200.00 250.00
11 เพื่อลดผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

ร้อยละของผู้สูงวัย อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะซึมเศร้า

10.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
จนท.อปท. 5
เจ้าหน้าที่+อสม.พี่เลี้ยงผู้สูงอายุ 12
แกนนำผู้สูงอายุตำบลสมหวัง 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/03/2024

กำหนดเสร็จ 20/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพและภาวะ Geraitric syndrom

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพและภาวะ Geraitric syndrom
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุทุกคนในเขตตำบลสมหวัง ได้รับการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ตามแบบคัดกรองสุขภาพ Geraitric Syndrom

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-แบ่งกลุ่มผุ้สูงอายุตามผลที่ได้จากการคัดกรอง -วางแผนการดูแล ให้บริการแก่ผู้สูงอายุตามกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ -ผู้ดูแลผู้สูงอายุ สามารถวางแผนการดูแลได้ครอบคลุม และเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำผู้สูงอายุ ในการเขียนแผนดูแลสุขภาพตัวเอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำผู้สูงอายุ ในการเขียนแผนดูแลสุขภาพตัวเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดประชุมแกนนำผู้สูงอายุ เพื่อให้ความรู้และทักษะการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง
-ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถเขียนแผนการดูแล ฟื้นฟูสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง และเหมาะสม
-ค่าตอบแทนวิทยากร6ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน1,800.-
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50คนๆละ1มื้อๆละ70บาท เป็นเงิน3,500.-
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ2มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 2,500.-

***งบส่งเสริมป้องกันเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกงหรา

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม -ผู้สูงอายุวางแผนการดูแลสุขภาพตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเรียนรู้เพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเรียนรู้เพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมให้ความรู้การดูแลตัวเองในผู้สูงอายุ -อบรมให้ความรู้ด้านอาชีพ เพื่อส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในผู้สูงอายุ -กิจกรรมนันทนาการ และพัฒนาทักษะด้านความจำ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต และสมองดีในผู้สูงอายุ

*****อปท. ดำเนินกิจกรรมเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มกราคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สุงอายุกลุ่มติดสังคมสามารถร่วมกลุ่มทำกิจกรรมได้ -ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นคุณค่าในตนเอง -ลดภาวะ ซึมเศร้า และโรคสมองเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพดี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพดี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในผู้สูงอายุ งบประมาณที่ใช้ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท จำนวน 77 คน รวมเป็นเงิน 3,850.- บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 77 คน รวมเป็นเงิน 3,850.- บาท
- ค่าจ้างเหมาเวทีและเครื่องเสียงเป็นเงิน1600.- บาท *** เฉลี่ยแต่ละ อปท.
- ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน300.- บาท

-จัดบูธส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในผู้สูงอายุแต่ละชมรม
งบประมาณที่ใช้ - -วัสดุอุปกรณ์ในการจัดบู้ทเป็นจำนวนเงิน 1,500.- บาท

-กิจกรรมสันทนาการและออกกำลังกายของผู้สูงอายุ
-สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาและการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ -กิจกรรมแข่งกีฬาพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
งบประมาณที่ใช้ -- ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นเงิน2,000.- บาท

-ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดีต้นแบบ อำเภอกงหรา งบประมาณที่ใช้ - - ค่าประกาศนียบัตรผู้สูงอายุต้น แบบพร้อมกรอบ จำนวน 3 ป้ายๆละ 200.- เป็นเงิน 600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และพบปะเพื่อนวัยเดียวกะน -ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการทำกิจกรรม และการดูแลสุขภาพ -ผู้สูงอายุมีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพ และได้แสดงออก -ผู้สุงอายุได้ผ่อนคลาย และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระบบการดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเข้มแข็งมากขึ้น
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ สังคม มีคุณภาพชีวิตที่ดี
3 .ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลต่อเนื่อง และได้รับการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพ


>