กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารกำจัดศัตรูพืชเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตร เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของความเสียหายจากศัตรูพืช ทำให้ผลิตผลทางเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะคุณภาพและความสวยงามของสินค้า ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่อาหารที่ผู้บริโภค รับประทานเข้าไปด้วย เพราะผลิตผลส่วนใหญ่ล้วนปราศจากเชื้อโรคและแมลง แต่การใช้สารเคมีทาง การเกษตรก็มีโทษเช่นกัน โดยการใช้สารเคมีแต่ละครั้ง หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือป้องกันไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ สารพิษเข้าสู่ร่างกายและเกิดการสะสมในระยะยาว จนเมื่อมีปริมาณมากพอก็จะแสดงอาการ ออกมา อีกทั้งยัง ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลิตผล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในวงกว้าง จากแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดี ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ดังนั้นการสร้างพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและไม่มีสารเคมีตกค้างจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสารเคมีที่ตกค้างในร่างกาย สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่การที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่าง ๆขึ้นมา เช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีและมีความรอบรู้ในเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษที่สามารถรับประทานในครัวเรือนได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร ได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อสนองนโยบายการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชน โดยดำเนินงานในรูปแบบการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์เพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งมีการสาธิตแปลงผักเพื่อสุขภาพให้กลุ่มเป้าหมายได้เป็นแนวทางในการปลูกผักที่ถูกวิธีในครัวเรือนโดยการใช้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ร่วมด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์เพื่อสุขภาพ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์เพื่อสุขภาพ มากกว่าร้อยละ 60

20.00 60.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารกำจัดศัตรูพืชในร่างกาย

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาสารกำจัดศัตรูพืชร้อยละ  80

20.00 80.00
3 เพื่อสร้างพฤติกรรมการปลูกผักเพื่อสุขภาพด้วยปุ๋ยอินทรีย์

แกนนำผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพมีแปลงผักสาธิตในชุมชนของตนเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

15.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมและวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะดำเนินงาน วางแผนดำเนินงาน กำหนดขอบเขตงาน กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ กำหนดวิทยากร การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 ชุด ๆละ 30 บาท เป็นเงิน 300

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้การดำเนินงานมีความสะดวก รวมเร็ว สามารถดำเนินงานได้ทันตามเวลาที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 2 รับสมัครแกนนำและประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รับสมัครแกนนำและประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ป้ายไวนิล ราคาป้ายละ 500 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่กำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดอบรมให้ความรู้แกนนำผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แกนนำผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่แกนนำผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ในประเด็นเรื่อง
1.ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดสำหรับแกนนำ จำนวน 50 คน 2.ให้ความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ 3.ให้ความรู้แนะนำวิธีการปลูกผักสวนครัวที่ถูกต้อง 4.ให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ 5.การทำแปลงผักสาธิตเพื่อสุขภาพ -ค่าวิทยากร จำนวน 4 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -เอกสารประกอบการประชุม จำนวน 50 ชุด ราคาชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1500 บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ ราคามื้อละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 3000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ราคามื้อละ 60 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 3000 บาท -ค่าวัสดุทำปุ๋ยหมัก จำนวน 5,000 บาท -บัวรดน้ำ จำนวน 2 ใบ ราคาใบละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท -สายยาง จำนวน 5 กิโลกรัม ราคากิโลกรัม 60 บาท เป็นเงิน 300 บาท -ดินปลูกผัก จำนวน 100 ถุง ราคาถุงละ 35 บาท เป็นเงิน 3500 บาท -อิฐประสาน 2 ปุ่ม จำนวน 128 ก้อน ราคาก้อนละ 25 บาท เป็นเงิน 3200 บาท -ต้นกล้าผัก จำนวน 50 ต้น ราคาต้นละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท -เมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 80 ซอง ราคาซองละ 30 บาท เป็นเงิน 2400 บาท -อุปกรณ์ทำสวน จำนวน 1 อัน ราคาอันละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท -ค่าชุดตรวจหายาฆ่าแมลงในเลือด 3,000 บาท      -กระดาษโคลีนแอสเตอเรส จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
     -ชุดตรวจหายาฆ่าแมลงในเลือดเกษตรกรจำนวน 1 ชุด ๆละ 2,000 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เจาะเลือดตรวจสารเคมี จำนวน 300 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้ามีความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ  สามารถแนะนำวิธีการปลูกผักสวนครัวที่ถูกต้องและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้
  2. แกนนำสาธิตการทำปุ๋ยหมักอินทรีได้ถูกต้องและสร้างแปลงผักสาธิตในชุมชนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28900.00

กิจกรรมที่ 4 ลงเยี่ยมแปลงผักต้นแบบของแกนนำผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมแปลงผักต้นแบบของแกนนำผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีแปลงผักสาธิตในชุมชนโดยมีการปลูกผักเพื่อสุขภาพที่หลากหลายอย่างน้อยหมู่ละ 1 แปลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะดำเนินงาน เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 ชุด ๆละ 30 บาท เป็นเงิน 300

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินงานและวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาและต่อยอดในโครงการถัดไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถนำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ตามความเหมาะสมกับสภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน
2. ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ความรอบรู้ด้านด้านสุขภาพเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของประชาชน
3. เพื่อให้มีแกนนำด้านการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ
4. กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรและปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการทำเกษตรอินทรีย์
5. กลุ่มเป้ามีความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพสามารถแนะนำวิธีการปลูกผักสวนครัวที่ถูกต้องและการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ได้


>