กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท้ายน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมเรียนรู้ดูแลครรภ์และเด็ก 0-5 ปี ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท้ายน้ำ

1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
2.กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน

ตำบลท้ายน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การที่จะทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย มีความฉลาดทางสติปัญญาและอารมณ์ ปรับตัวให้เข้ากับสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการส่งเสริมจากหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือตัวมารดาเอง ในปี พ.ศ. 2566 ตำบลท้ายน้ำ พบว่าเด็กมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน 9.72 % , ภาวะท้วม 7.64% และ ภาวะผอม 12.50% ภาวะโภชนาการเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องให้ความตระหนัก โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแล ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเพื่อที่สามารถทำอาหารที่มีประโยชน์ให้เด็กรับประทาน และสามารถส่งเสริมให้บุตรมีพัฒนาการตามวัยได้ ผู้ปกครองจึงต้องมีการสร้างนิสัยในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องให้กับเด็ก เพื่อฝึกนิสัยการรับประทานอาหารที่ถูกต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กองค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง และเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูกต้นน้ำนมราชสีห์ เป็นพืชสมุนไพรไม้ล้มลุกขึ้นตามที่รกร้างข้างทาง ลำต้นและใบมีขน ดอกเป็นช่อตามซอกใบ ผลกลมแบ่งเป็น 3 พลู จากผลงานวิจัยพบว่านำหนูตะเภาตัวเมียมาทดลองในระยะที่ให้นม เมื่อกินต้นน้ำนมราชสีห์ปรากฏว่าทำให้มีน้ำนมมากขึ้น และไม่ส่งผลกระทบแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อนำมาให้คุณแม่รับประทานจะช่วยขับน้ำนม เพิ่มน้ำนม และช่วยฟอกน้ำนมของสตรีให้สะอาดสำหรับสตรีหลังคลอด ด้วยการใช้ต้นสด 1 กำมือหรือ 30-60 g. ต้มน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นต้นแห้ง 6-10 g. (จะใช้รากหรือทั้งต้นก็ได้)ลูกประคบสมุนไพร สรรพคุณ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบและระบมหลังจากการนวด ประโยชน์ต่อคุณแม่หลังคลอด ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยให้ก้อนไขมันนมนุ่มขึ้น แตกตัวง่ายขึ้น และช่วยให้น้ำนมไหลออกมาสะดวก และช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำนมในปัจจุบันพื้นที่ตำบลท้ายน้ำ มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 3 ปีย้อนหลังลดลง โดยในปี 2564 - 2566 มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ที่ 56.52% , 78.57% และ 70.37% ตามลำดับ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบในพื้นที่ คือ แม่ต้องกลับไปทำงานประจำและปริมาณน้ำนมมีไม่เพียงพอให้ลูกดื่ม จนต้องเสริมด้วยนมผง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องของปริมาณน้ำนมมีไม่เพียงพอต่อการบริโภคของทารก โดยการใช้สมุนไพรน้ำนมราชสีห์มาช่วยในการเพิ่มน้ำนมและใช้ลูกประคบในการกระตุ้นเต้านมให้กับมารดาหลังคลอด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.
เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการที่มีคุณภาพและหญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน
2.
เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำกลุ่มจิตอาสาแม่และเด็ก
3.
เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และมีพัฒนาการสมวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 15/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมเรียนรู้ดูแลครรภ์และเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมเรียนรู้ดูแลครรภ์และเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด , เด็ก 0-5 ปี ในพื้นที่ตำบลท้ายน้ำ
2. เขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบการดำเนินงาน 3. จัดบริการคลินิกฝากครรภ์คุณภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ให้บริการทับหม้อเกลือในหญิงหลังคลอด
4. จัดอบรมแกนนำกลุ่มจิตอาสาแม่และเด็กเรื่องการส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็ก การติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด การส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี 5. จัดอบรมผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และมีพัฒนาการสมวัย
6. ติดตามน้ำหนัก ส่วนสูงของเด็ก 0-5 ปี เพื่อประเมินภาวะโภชนาการทุกๆ 3 เดือน 7. ติดตามเด็ก 0-5 ปี มาตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุต่างๆ 8. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
2. หญิงหลังคลอดมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร้อยละ 60 3. แกนนำกลุ่มจิตอาสาแม่และเด็ก มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร้อยละ 60 4. ภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 0-5 ปี ดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ร้อยละ 65

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>