กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย รวมพลังภาคีเครือข่าย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย รวมพลังภาคีเครือข่าย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านสะพานข่อย

1 นางประกอบ ทองมาก
2 นางเพ็ญศรี ร่มหมุน
3 นางสาวผ่องศรี เพชรน้อย
4 นายสิทธิชัย ไชยสุวรรณ
5 นางผกามาศ ทองสา

หมู่ที่7 หมู่ที่8 หมู่ที่10 หมู่ที่11 และหมู่ที่12 ตำบลนาขยาดอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

0.32
2 อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก(ต่อแสนปชก.)

ด้วยโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดได้แก่กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 -14 ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ทุกกลุ่มวัย และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วยการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ตำบลนาขยาด มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในทุกๆปีในปีที่ผ่านมาได้มีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งทั้งอสม. ผู้นำชุมชนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และในกรณีที่เกิดการระบาด ได้ว่าจ้างผู้ที่ผ่านการอบรมการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย มาพ่นเพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยกรณีที่มีผู้ป่วย/สงสัยป่วยด้วยไข้เลือดออก ซึ่งสามารถควบคุมโรคได้ไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านสะพานข่อย ได้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านสะพานข่อย รวมพลังภาคีเครือข่าย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 ในพื้นที่หมู่ที่ 7 8 10 11 และ12 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

309.11

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก(ต่อแสนปชก.)

1.ลดอัตราป๋วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง(ค่ามัธยฐาน=0) ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
2.เกิดความร่วมมือระหว่าง ประชาชน หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ ในการมีส่วนร่วมในการควบคุม และปฎิบัติ สม่ำเสมอ ลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกิน 5 และไม่พบลูกน้ำยุงลายในสถานที่ ราชการ วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

309.11 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,449
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้ภาครัฐและเอกชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้ภาครัฐและเอกชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในสถานบริการสาธารณสุข โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่บ้าน ชุมชน และหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน
งบประมาณ - ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจและแบบสรุปลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3,000 ใบฯละ 0.50 บาทเป็นเงิน1,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ผลลัพธ์ ค่าHICI ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.
งบประมาณ - ค่าทรายเคมี เพื่อกำจัด ลูกน้ำยุงลาย จำนวน 2 ถังๆละ 4,000.- บาท เป็นเงิน 8,000.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.จำนวน 2 วัน มื้อ 25.- บาท x 2 มื้อ จำนวน 80 คน เป็นเงิน 4,000.- บาท
- ค่าอาหารกลางวัน กิจกรรมรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.จำนวน 2 วัน ครั้งละ 50.- บาท x 2 ครั้ง x 80 คน เป็นเงิน 8,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ค่าHI  CI ลดลง ผลลัพธ์ ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพ่นเคมีกำจัดยุงลายในระยะรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย กรณีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นเคมีกำจัดยุงลายในระยะรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย กรณีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพ่นเคมีกำจัดยุงลายกรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก ในพื้นที่
งบประมาณ - ค่าน้ำยาพ่นกำจัดยุง ขนาด 1 ลิตรขวดละ1,200.-บาท จำนวน 2 ขวด เป็นเงิน 2,400.-บาท
- ค่าน้ำมันแก็สโซออยล์ 95 จำนวน 30ลิตรๆละ 40.- บาท เป็นเงิน 1,200.- บาท
-.ค่าน้ำมันทูที ขนาด 0.5 ลิตร ราคากระป๋องละ 80 บาท จำนวน 2กระป๋อง เป็นเงิน 160.- บาท
-ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงครั้งละ 200.- บาท จำนวน 3 ครั้ง/ผู้ป่วย 1 คน เป็นเงิน 600.- บาท(ผู้ป่วย 15 คน)เป็นเงิน 9,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (ค่าHI CI ลดลง)
ผลลัพธ์ ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12760.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพ่นเคมีกำจัดยุงลายป้องกันโรคล่วงหน้าในสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นเคมีกำจัดยุงลายป้องกันโรคล่วงหน้าในสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพ่นเคมีกำจัดยุงลายป้องกันโรคล่วงหน้าในสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
งบประมาณ -- ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงป้องกันโรคในโรงเรียน 2 โรง ปีละ 2 ครั้ง/โรง ครั้งละ 200.- บาท เป็นเงิน 800.- บาท
- ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงป้องกันโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง  ปีละ 2 ครั้ง/แห่ง ครั้งละ 200.- บาท เป็นเงิน 800.- บาท - ค่าจ้างพ่นสารเคมีกำจัดยุงป้องกันโรคในวัด 1 วัด  ปีละ 2 ครั้ง/วัด ครั้งละ 200.- บาท เป็นเงิน 400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (ค่าHI CI ลดลง)
ผลลัพธ์ ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร และไม่เกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
2.ค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลาย HI ในหมู่่บ้าน ไม่เกินร้อยละ 10
3.ค่าดรรชนีลูกน้ำยุงลาย CI ในโรงเรียนวัด สถานที่ราชการ สถานประกอบการ เท่ากับ 0


>