กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หอกลอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข ตำบลหอกลอง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.หอกลอง

ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค ตำบลหอกลอง

หมู่ที่ 1 ถึงหมู่ที่ 7 ตำบลหอกลอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนจำเป็น

 

0.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

44.66
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

1.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

1.00 0.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

44.66 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ประกอบการร้านค้า 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมคณะทำงานชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและอบรมเชิงปฏิบัติการทีมคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
การจัดประชุมคณะทำงานชมรมคุ้มครองผู้บริโภคและอบรมเชิงปฏิบัติการทีมคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารและอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 9 คน คนละ 100 บาท  เป็นเงิน  900 บาท
  • ค่าน้ำมันสำหรับที่ออกปฏิบัติงาน เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. มีแผนการออกประเมินประเมินและมาตรฐานร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. มีข้อมูลพื้นฐานเพื่อการดำเนินงาน ได้แก่ ข้อมูลร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านจำหน่ายอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และข้อมูลจำนวนเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ผลลัพธ์     สถานประกอบการมีการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจประเมินให้ความรู้ คำแนะนำ ร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินให้ความรู้ คำแนะนำ ร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำมันสำหรับที่ออกปฏิบัติงาน เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำหมวกและผ้ากันเปื้อน จำนวน 12 ชุด ราคาชุดละ 100 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายอาหารสะอาดรสชาติอร่อย จำนวน 5 ป้ายๆละ 100 บาท      เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายอาหารปลอดภัย จำนวน 2 ป้ายๆละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท
  • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายร้านชายของชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 17 ป้ายๆละ 100 บาท      เป็นเงิน 1,700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลลัพธ์  ร้านขายของชำ ร้านจำหน่ายอาหารสด ร้านจำหน่ายอาหาร และโรงอาหารในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดำเนินงานผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4100.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมการตรวจหาสารปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-๒) ในร้านจำหน่ายอาหาร ร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมการตรวจหาสารปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-๒) ในร้านจำหน่ายอาหาร ร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชุดทดสอบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น(SI-๒)   จำนวน 1 กล่อง กล่องละ 1,400 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ร้านจำหน่ายอาหาร  ร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการตรวจหาสารปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น (SI-๒)
ผลลัพธ์ ร้านจำหน่ายอาหาร  ร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว โรงอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผ่านเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 4 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่แกนนำนักเรียน อย.น้อย

ชื่อกิจกรรม
การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติแก่แกนนำนักเรียน อย.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุสำนักงานในการจัดการอบรม   เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน อัตราคนละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  อย.น้อย มีความรู้ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผลลัพธ์  มีแกนนำสุขภาพ(อย.น้อย) ช่วยเฝ้าระวังการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ให้ความรู้การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จ้างเหมาจัดทำคู่มือความรู้และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันตนเองในการใช้สารเคมี จำนวน 200 เล่ม เล่มละ 4 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  • จัดซื้อชุดอุปกรณ์ตรวจหารสารเคมีและกระดาษโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 2 ชุด ชุดละ 1,400 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากสารเคมีในชีวิตประจำวัน ผลลัพธ์   ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถป้องกันตนเองจากใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 6 อบรมให้ความรู้การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน อัตราคนละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ในการใช้ยาที่ถูกต้อง ผลลัพธ์  ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำเอกสารรูปเล่ม จำนวน 2 เล่ม เล่มละ 100 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีสรุปรายงานผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีการดำเนินงานการคุ้มครองผู้บริการด้านสาธารณสุขได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดประชาชนได้รับการคุ้มครองและเป็นธรรมในการบริโภคสินค้าและบริการด้านสุขภาพ


>