กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี ชีวีสดใส สูงวัยอย่างมีคุณค่า หมู่ที่1 ตำบลนาขยาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่1 (นายเกษม เต็มราม )

1.นายเกษม เต็มราม
2.นางจิราภรณ์ ศรีสุวรรณวิเชียร
3.นางธิติมาพร แป้นด้วง
4. นางละออง คงแก้ว
5. นางกล้าพล มาสง

ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่1ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

65.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

 

76.89
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

45.33
5 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว

 

59.78

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

45.33 40.00
2 เพื่อลด จำนวนผู้สูงอายุที่ติดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม  ลดลง

76.89 60.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย เข่าเสื่อม หรือมีปัญหาทางการเคลื่อนไหว

ผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวลดลง

59.78 48.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/06/2024

กำหนดเสร็จ 27/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วยคณะกรรมการของชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 จำนวน 5 คน สถานที่ประชุม ศาลาหมู่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านศาลาต้นรัก เป้าหมายเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการขับเคลื่อน

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการที่มีความรู้ความเข้าใจและมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการ มีค่าใช้ต่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่าง จำนวน5 คน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 125 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
125.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/ปัญหาทางการเคลื่อนไหว ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 5 คน และผู้สูงอายุ จำนวน 50 คนจัดกิจกรรม 1 วัน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน2,400บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท จำนวน 55 คน เป็นเงิน 3,300 บาท
3. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 55 คนเป็นเงิน 2,750 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ สำหรับสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย เพื่อลดอาหารหวาน มัน เค็ม จำนวน 1,300 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ สำหรับสาธิตการพอกเข่าด้วยสมุนไพรที่ทำได้ด้วยตนเอง เพื่อบำบัดการเข่าเสื่อม จำนวน 1,000 บาท
6. ค่าทำป้ายไวนิล ขนาด ยาว 240 เซนติเมตร กว้าง 120 เซนติเมตรเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2567 ถึง 2 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ได้รับการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในการลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และการบำบัดการปวดเข่าด้วยสมุนไพรที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11250.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ประเมินผล ถอดบทเรียน สรุปและจัดทำรายงานโครงการ มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 5 คน เป็นเงิน 125 บาท
2. ค่าจัดทำรายงานโครงการจำนวน3 เล่ม เล่มละ 80บาท เป็นเงิน 240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2567 ถึง 24 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. รายงานผลโครงการ
  2. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
  3. ปัญหาและอุปสรรค
  4. บทเรียนที่ได้รับจากการเขียนโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
365.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

จำนวนผู้สูงอายุที่ชอบบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และจำนวนผู้สูงอายุที่มีความปวดเมื่อย/เข่าเสื่อม/มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวลดลง


>