กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท้ายน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างภูมิความรู้ต้านภัยสุขภาพจากโรคระบาด ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท้ายน้ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ

ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ประชาชนต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดในสังคม จนบางครั้งลืมนึกถึงสภาวะสุขภาพ ทำให้การเกิดโรคต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อ และจากโรคติดต่อที่ไม่มีความรุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น หรือเรียกว่าโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคติดต่ออุบัติซ้ำ นั่นเองปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโต ได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก , ทางเดินหายใจ ฉี่หนู) โดยชุมชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่น และภาคประชาชนวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเอง หน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับ ปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของ พื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคตอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วยดังนั้น จากเหตุผลข้างต้น การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อจำเป็นต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ มีความครอบคลุมรวดเร็วทันต่อสถานการณ์และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินงานจึงต้องสร้างเครือข่ายในชุมชนที่มีคุณภาพและมีทักษะในการดำเนินงานได้ทันต่อสถานการณ์งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท้ายน้ำ จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดำเนินงานในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
2. เพื่อป้องกันควบคุมการระบาดและลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 176
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2. สำรวจและเก็บข้อมูลปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม 3. อบรมฟื้นฟูให้ความรู้เรื่องผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลเกิดโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน จำนวน 176 คน 4. รณรงค์ออกสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ ลูกน้ำยุงลาย ใน

ชื่อกิจกรรม
1. เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2. สำรวจและเก็บข้อมูลปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม 3. อบรมฟื้นฟูให้ความรู้เรื่องผลกระทบ ปัจจัยเสี่ยงสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลเกิดโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชน จำนวน 176 คน 4. รณรงค์ออกสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ ลูกน้ำยุงลาย ใน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    เป็นเงิน 4,400.00 บาท
  • ค่าป้ายไวนิล  เป็นเงิน 450.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถควบคุมป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ได้
  2. เมื่อเกิดโรคติดต่อในชุมชน สามารถควบคุมโรคได้ทันเวลา ลดการระบาดของโรค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมป้องกันและลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่ได้
2. เมื่อเกิดโรคติดต่อในชุมชน สามารถควบคุมโรคได้ทันเวลา ลดการระบาดของโรค


>