กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๖๗ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕๖๗ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแป-ระใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

และเหตุผล
โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน คือ โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถ้าไม่รับการดูแลรักษาและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease)ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ ๑๗.๕ ของประชากรที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแป-ระใต้ มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความดูแล จำนวน ๒๔๘ คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน ๙๘ คน (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จ.สตูล HDC ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ) และมีการคัดกรองภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน๑๗๙ราย พบว่ามีภาวะเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง จำนวน๒๒ราย (ข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์จ.สตูล HDC ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ )เมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (end stage renal disease ERSD) จะต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ในประชาชนที่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)สิทธิที่รัฐบาลให้ใช้ได้ คือการล้างไตทางช่องท้อง เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังในระยะสุดท้ายจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และประเทศจะต้องสูญเสียงบประมาณด้านสาธารณสุขเป็นเงินจำนวนมหาศาลเป็นสาเหตุการป่วย พิการและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกและประเทศไทย ส่งผลให้เกิดภาระและสูญเสียในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศรษฐกิจต่อผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักที่สำคัญต่อการเกิดโรคดังนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานควบคุมโรคไม่ได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนลงพุง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านแป-ระใต้ต.ท่าเรือ อำเภอท่าแพจ.สตูลได้ตระหนักถึงความสำคัญ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง เกิดอุบัติการณ์ พิการ และเสียชีวิตเกิดขึ้นในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง

ร้อยละ 70 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง

0.00
2 เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ร้อยละ 70 ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไตเพื่อจัดทำโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไตเพื่อจัดทำโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไตเพื่อจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๑ ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑ มื้อ ๆ ละ ๕๐  บาท  จำนวน ๘๐  คน             เป็นเงิน  ๔,๐๐๐  บาท
๒.๒ ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (มื้อเช้าและมื้อบ่าย) จำนวน ๒ มื้อ ๆละ ๒๕ บาท  จำนวน ๘๐คน เป็นเงิน  ๔,๐๐๐ บาท ๒.๓ ค่าวิทยากร จำนวน ๔ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน  ๒,๔๐๐  บาท ๒.๔ ค่าวัสดุอุปกรณ์((คู่มือประกอบการอบรมการดูแลไต) จำนวน ๘๐ ชุดๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน  ๒,๐๐๐  บาท ๒.๕ ค่าป้ายไวนิล เป็นเงิน ๓๐0บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง เรื่องหน้าที่ของไต สัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคไต แนวทางการชะลอความเสื่อมของไต การบริโภคอาหารที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12700.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผู้ป่วยซ้ำจากการตรวจคัดกรอง ค่า egfr หลังจากอบรมแล้ว ๓ เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผู้ป่วยซ้ำจากการตรวจคัดกรอง ค่า egfr หลังจากอบรมแล้ว ๓ เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามและประเมินผู้ป่วยซ้ำจากการตรวจคัดกรอง ค่า egfr  หลังจากอบรมแล้ว ๓ เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง
๒.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความเสี่ยงภาวะไตวายเรื้อรังลดลง และลดอุบัติการณ์ในการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย


>