กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบัณฑิต ชวน กระโดดเชือกเพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

กลุ่มบัณฑิตอาสา ตำบลคอลอตันหยง

1. นางสาวมารีเย๊าะมะสะ
2. นางสาวสากียะสุหลง
3. นางสาวชีรีนดาแม
4. นางสาวลาตีพะห์อับดุลซอมะ
5. นางสาวยาวารีกูโน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระโดดเชือกเป็นกิจกรรมการออกกําลังกายชนิดหนึ่ง ที่เล่นง่าย ไม่ใช้อุปกรณ์มาก ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หากปฏิบัติเป็นประจำสมำเสมอจะช่วยพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางด้านระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจอย่างเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม การกระโดดเชือก ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากๆ ของการออกกําลังกายหลากหลายชนิด เช่น 1. การเผาผลาญแคลอรี่ ถ้ากระโดดเชือกติดต่อกันต่อเนื่องเป็นเวลา15 นาที่ สามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ถึง 200-300 แคลอรี่ ซึ่งมากกว่าการออกกําลังประเภทอื่นๆ อย่างเช่น การวิง ปั่นจักรยาน เป็นต้น 2. ช่วยให้ร่างกายทำงานสัมพันธ์กัน แขน ขา และสมาธิอยู่กับจังหวะ 3. หัวใจแข็งแรงและทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้สภาพร่างกายทรุดโทรม หลายคน มองข้ามการออกกำลังกาย บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจําวันเป็นการ ออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลง และอาจจะประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเครียด และโรคที่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ไม่ถูกต้องต่างๆ ดังนั้นการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับชีวิตของคนเรา นอกจากเพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลความเจ็บป่วย มีภูมิต้านทานโรคแล้ว ยังลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมการกระโดดเชือก ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
กลุ่มบัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิตําบลคอลอตันหยง ได้ตระหนักถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการ “บัณฑิต ชวน กระโดดเชือก วันละนิด เพื่อสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2567” โดยการ ผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธีเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน และให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนําไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วย ตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการ ให้ความรู้ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริม และสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ ให้สร้างสุขนิสัยในการออกกําลังกาย เพื่อให้ร่างกาย แข็งแรง

 

80.00 85.00
2 เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่มีอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสุขภาพ

 

80.00 85.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมในพื้นที่ ได้รับรู้และเห็นความสำคัญในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิธีการ ออกกําลังกาย

 

80.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 วางแผนและประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 วางแผนและประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. วางแผนการดำเนินโครงการ และประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
  2. รับสมัครกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
  3. ช่างน้ำหนักกลุ่มเป้าหมายวัดสวนสูง เพื่อประเมินค่า BMI ก่อนเข้าร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 อบรมและบรรยายให้ความรู้การกระโดดเชือกอย่างถูกวิธีและประโยชน์ของการกระโดดเชือก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 อบรมและบรรยายให้ความรู้การกระโดดเชือกอย่างถูกวิธีและประโยชน์ของการกระโดดเชือก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท 3,600.- บาท 2 ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1*3 เมตร 750.- บาท 3 ค่าอาหารกลางวันจำนวน 80 คนๆ คนละ ๕0 บาท จำนวน 1 มื้อ 4,000.- บาท 4 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆ คนละ ๒๕ บาท จำนวน 2 มื้อ 4,000.- บาท 5 ค่าอุปกรณ์ เชือกกระโดด จำนวน 80 อัน ๆ ละ 70 บาท 5,600.- บาท 6 ค่าสมุดคู่มือการติดตามจำนวน 80 ชุด ๆ ละ 26 บาท 2,080.- บาท รวม 20,030.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2567 ถึง 6 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20030.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ติดตามผลค่า BMI ของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีภาวะเสี่ยง หลังจากอบรม 3 เดือน/ครั้ง
  2. มอบเกียรติบัตรให้กับผุ้เข้าร่วมที่สามารถดูแลตนเองได้ดี
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการของผู้เข้าร่วม
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2567 ถึง 19 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
2. ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพร่างกายที่ดีและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


>