กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เอราวัณ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขกายใจ ผู้สูงวัย อายุยืน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เอราวัณ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สุงอายุตำบลเอราวัณ

1.นายสามะสะอุดี
2.นายมะรอเฮ็มอาแว
3.นายมะรือสะอาแว
4.นายอับดุลรอแมอาแวกามารูดิง
5.นายดือเลาะนาวะ

ตำบลเอราวัณ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคลช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียดและโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจาก กระบวนการสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในทางปฏิบัติและสภาพการณ์ของการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมบรรทัดฐานทางสังคมสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ระบบสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้นและระบบบริการสุขภาพจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นแต่ยังมุ่งที่การจัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลักคำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วค่อยรักษาทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากแต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น นอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้นดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการและองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องบริโภคอาหารที่สุกสะอาดปลอดภัยไม่ติดยาเสพติดส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของชมรมสร้างสุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์ให้ชมรมสร้างสุขภาพเป็นศูนย์กลางและเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดีเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆอาทิโรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคของกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อต่างๆ ป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยกลางคน และโรคกระดูกตะโพกหักในวัยสูงอายุ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ดังนั้นหากพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายและมีภาวะโภชนาการที่ดี จึงเป็นมาตรการทางอ้อมที่ใช้ในการเพิ่มรายได้ประชาชาติได้ด้วย
หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือการให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ให้หลากหลายและพอเพียงงดอาหารหวาน มัน เค็ม ดุแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตลอดจนการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะในรายผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ และสามารถรักษาอาการป่วยได้ทันถ้วนที จากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว การสร้างเสริมจิตใจให้เข็มแข็งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ควรทำควบคู่กับการดูแลสุขภาพกาย จิตควบคุมกายจิตใจที่เข็มแข็งจะทำให้ร่างกายมีพลัง พร้อมที่จะรับและเผชิญกับสิ่งที่ต่างทั้งร้ายและดีที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การทำให้จิตใจเข็มเข็งนั้น จำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มธรรมมะ หลักธรรมทางศาสนา และโดยเฉพาะผู้สูงวัย การนำหลักคำสอนทางศาสนามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงเป็นวิธีการที่ควรส่งเสริมอย่างยิ่ง การมีกำลังใจ กำลังกายที่ดี จะทำให้ผู้สูงอายุมีอายุยืน และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีสติต่อไป
ส่วนสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลเอราวัณ ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเอราวัณ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตอแลจึงได้จัดทำโครงการสร้างสุข กายใจ ผู้สูงวัยอายุยืนขึ้น ในการที่จะคัดกรองโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดัน และตรวจสุขภาพประจำปีโดยกลุ่มองค์กรด้านสาธารณสุขในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลเอราวัณให้ดีขึ้น มีกำลังจิตกำลังใจที่ดีพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีสติและใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีความสุขต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจสุขภาพประจำปีให้กับผู้สูงอายุ

 

0.00
2 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจใสนการดูแลสุขภาพตนเอง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 450
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/02/2024

กำหนดเสร็จ 28/02/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. บริการตรวจสุขภาพคัดกรองโรค

ชื่อกิจกรรม
1. บริการตรวจสุขภาพคัดกรองโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. บริการตรวจสุขภาพคัดกรอง 1.1 ค่าตอบแทน อสม. 200 บาท X 25คน = 5,000.-บาท 1.2ค่าอาหารเช้าจำนวน450 คน ๆ ละ25.-บาท=11,250.-บาท 1.3ค่าอาหารกลางวัน จำนวน450คน ๆ ละ 50.-บาท=22,500.-บาท 1.4ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มจำนวน450 คน ๆ ละ50.- บาท (จำนวน 2มืื้อ)= 22,500.- บาท 1.5ค่าวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์=27,150.-บาท รวมเงิน88,400.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
88400.00

กิจกรรมที่ 2 2. บรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
2. บรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรบรรยาย  = 3,600.- บาท
  2. ค่าจ้างเหมาเวที      = 5,000.-  บาท         รวมเป็นเงิน           8,600.-  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 นิทรรศการ

ชื่อกิจกรรม
นิทรรศการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายในการจัดนิทรรศการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
2. ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก
3.ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจสุขภาพช่องปา
4.ผู้ป่วย คนพิการ ได้รับการตรวจคัดกรอง และสามารถรับการจดทะเบียนทำบัตรคนพิการรายใหม่
5. ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี สามารถลดรายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งทราบแนวทางการป้องกันและสามารถดูแลตนเองได้ต่อไป
6. ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ญาติพี่น้องผู้ดูแล และประชาชนทั่วไปสามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงพยาบาล
7. ประชาชนในพื้นที่มีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงานราชการโดยเฉพาะในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในระยะยาวต่อไป


>