กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง หมู่ที่ 3 ตำบลสมหวัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง หมู่ที่ ๓ ตำบลสมหวัง

1. นางสาวกาญจนา ดำชื่น
2. นายบุญเสริม สงแทน
3. นางสาวศิรินญา นวนไหม
4. นางสุณีย์ ด้วงเอียด
5. นางจริยา เศรษฐสุข

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง หมู่ที่ ๓ ตำบลสมหวังอำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรค จอประสาทตาเสื่อมโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นนั้น
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหวัง หมู่ที่ 3 ตำบลสมหวัง จึงเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ในการปฏิบัติและป้องกันการเกิดโรคความดัน โลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 80

80.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ร้อยละ 90

90.00 90.00
3 เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

ลดภาวะแทรกซ้อนใหม่ในกลุ่มป่วย ร้อยละ 100

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจำนวน 30 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ในการปฏิบัติและป้องกันการเกิดโรคความดัน สามารถวัดความโลหิตและเจาะน้ำตาลบริเวณปลายนิ้วได้ สามารถแยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน ติดต่อกัน 7 วัน ภายใน 120 วัน - เครื่องวัดความดันโลหิต แบบดิจิตอล จำนวน 5 เครื่องๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 10,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหวัง กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ในการปฏิบัติและป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคดังกล่าว
2. ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม และส่งต่อพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน
4. ลดภาวะแทรกซ้อนใหม่ในกลุ่มป่วย


>