กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านเจาะโบ ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิตนับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรกเป็นช่วงทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการสมองเพราะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสานนับล้านโครงข่าย ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดย 270 วันอยู่ในท้องแม่ ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ลูกควรได้รับการเตรียมพร้อมสมองร่วมกับพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบกิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและสุขภาพที่แข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิดเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยว่า 2,500 กรัมมีอัตราการอยู่รอดต่ำ มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ จากการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจาะโบ ปีงบประมาณ 2566 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 65.29 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75) หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 64.96 (เป้าหมายร้อยละ 75 ) ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 7.63 (เป้าหมายร้อยละ 7 ) เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 เดือนได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 95.44 (เป้าหมายร้อยละ 50 ) เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 88 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 85 ) ดั้งนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเจาะโบ จึงได้จัดทำโครงการ“ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต”ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์
3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 1 น้อยกว่าร้อยละ 10
4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ (รพ.)
5. เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
6. เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน และฟันไม่ผุ
7. เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 23
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์และสามี และแกนนำสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์และสามี และแกนนำสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ หญิงตั้งครรภ์และสามี และแกนนำสุขภาพในชุมชน ตามหลักสูตร เนื้อหาการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ 1,000 วันของชีวิต พร้อมแจกคู่มือให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
    • การปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์..เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
    • นมแม่ดีที่หนึ่ง
    • การเตรียมตัวเพื่อคลอดและการดูแลเด็กแรกเกิด
    • อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12750.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ ผู้ปกครองเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และแกนนำสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ ผู้ปกครองเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และแกนนำสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ ผู้ปกครองเด็ก/ผู้ดูแลเด็ก และแกนนำสุขภาพในชุมชน ตามหลักสูตร เนื้อหาการส่งเสริมสุขภาพเด็ก 1,000 วันของชีวิต พร้อมแจกคู่มือให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย      - ส่งเสริมเด็ก IQ EQ เด่นด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า เต้น วาด      - การสร้างเสริมภูมิคุมกันด้วยวัคซีน      - การสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย      - อาหารตามวัย 1,000 วันแรกของชีวิตเพื่อเด็กสูงดีสมวัย      - การดูแลสุขภาพปากและฟันเด็กปฐมวัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13750.00

กิจกรรมที่ 3 แกนนำสุขภาพในชุมชนดูแลส่งเสริมสุขภาพลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
แกนนำสุขภาพในชุมชนดูแลส่งเสริมสุขภาพลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แกนนำสุขภาพในชุมชนดูแลส่งเสริมสุขภาพลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย      - ติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์      - ติดตามหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์      - ติดตามนำส่งหญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมตรวจภาวะโภชนาการและประเมินโภชนาการเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิก Well Baby

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจภาวะโภชนาการและประเมินโภชนาการเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิก Well Baby
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจภาวะโภชนาการและประเมินโภชนาการเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิก Well Baby

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมคัดกรองพัฒนาการ เด็กช่วงอายุ 9,18,30,42,60 เดือน ใน 5 ช่วงวัยในคลินิก Well Baby

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองพัฒนาการ เด็กช่วงอายุ 9,18,30,42,60 เดือน ใน 5 ช่วงวัยในคลินิก Well Baby
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองพัฒนาการ เด็กช่วงอายุ 9,18,30,42,60 เดือน  ใน 5 ช่วงวัยในคลินิก Well  Baby

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก 6 เดือน- 1 ปี พร้อมแจกยาเสริมธาตุเหล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก 6 เดือน- 1 ปี พร้อมแจกยาเสริมธาตุเหล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองภาวะซีดในเด็ก 6 เดือน- 1 ปี พร้อมแจกยาเสริมธาตุเหล็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิก Well Baby

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิก Well Baby
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี ในคลินิก Well Baby

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 ติดตามและประเมินโครงการลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินโครงการลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินโครงการลงเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
2. ไม่เกินร้อยละ 10 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง ครั้งที่ 1
3. ร้อยละ 75 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
4. ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ(รพ.)
5. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 6 เดือน
6. ร้อยละ 90 เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ
7. ร้อยละ 75 เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
8. ร้อยละ 100 อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก


>