กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ตำบลบ้านควน เบอร์โทร 089-4677379
นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-4884177
นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 089-9743341 (ผู้รับผิดชอบหลัก)
นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-9553967
นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทร 088-7955154

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

10.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง

 

39.00

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อ เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง หัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพอง และโรคอ้วนลงพุง ทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลก สาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก
ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผู้รับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของ รพ.สต.ตำบลบ้านควน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลการคัดกรอง ค้นหากลุ่มสงสัยป่วยในแต่ละปีและจากการส่งต่อผู้ป่วยกลับของ รพ.แม่ข่าย ที่ลดความแออัดทำให้ รพ.สต.มีจำนวนผู้ป่วยที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน รพ.สต.ตำบลบ้านควน มีผู้ป่วยที่รับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a จำนวน 33 ราย ระยะ 3b จำนวน 4 ราย และระดับ 4 จำนวน 2 ราย กลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว เป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง ไม่ให้การทำงานของไตแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งปัจจัยหลักในการดูแลสุขภาพ เน้นในเรื่อง 3อ2ส การใช้ยาเบาหวาน หรือยาความดันโลหิต ยาอื่นๆ สมุนไพรต่างๆ รวมไปถึงญาติผู้ดูแลต้องมีความรู้ในการดูแล เฝ้าระวัง ส่งเสริมและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น
ดังนั้น รพ.สต.ตำบลบ้านคควน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว สามารถควบคุมความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรังได้โดยมีญาติหรือผู้ดูแลมีความรู้ ความสามารถ จัดการปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้ถูกต้องเหมาะสมส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง สามารถดูแล ส่งเสริม เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4  มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง สามารถดูแล ส่งเสริม เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม

50.00 100.00
2 เพื่อส่งเสริมความรู้แกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแล เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง

ร้อยละ 100 ของแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแล เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง

50.00 100.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยภาวะไตวายเรื้อรัง

จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนด้วยภาวะไตวายเรื้อรังมีอาการไม่รุนแรงกว่าเดิมลดลง

5.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 36
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุข คลินิกโรคเรื้อรัง 14

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินงาน
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยแกนนำ อสม.และผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
  3. จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในโครงการ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 14 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน   1 วัน เป็นเงิน  420  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง  เข้่าร่วมประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
420.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม โดยมีแกนนำ อสม.เป็นผู้รับลงทะเบียน
  2. ผู้เข้ารับการอบรม และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง ทำแบบทดสอบก่อนการอบรมให้ความรู้
  3. แจ้งข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้รับรู้ถึงระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรังของตนเอง
  4. อบรมให้ความรู้ผู้ป่วย และแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรังในเรื่องของระดับความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน ไตวายเรื้อรัง การดูแลส่งเสริม สุขภาพ และการเฝ้าวัง ในเรื่อง 3อ.2ส. การใช้ยาต่างๆ การใช้สมุนไพรและผลของการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตที่ไม่ดี
  5. ผู้เข้าร่วมอบรม ทำแบบทดสอบหลังการอบรมให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย พร้อมทั้งเฉลยข้อสอบ
  6. กล่าวสรุปกิจกรรม โดยเจ้าของโครงการ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 จำนวน 36 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,080 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม แกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง จำนวน 14 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 420 บาท
- ค่าวิทยากร ให้ความรู้ จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4   มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแล เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ได้ถูกต้องเหมาะสม
  2. ร้อยละ 100 ของแกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแล เฝ้าระวัง ภาวะสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,720.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 รู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง
2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง ระยะ 3a,3b และ 4 มีความรู้เกี่ยวกับระยะความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง สามารถส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองได้ถูกต้อง เหมาะสมส่งผลให้ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนไตวายเรื้อรัง
3. แกนนำ อสม.คลินิกโรคเรื้อรัง มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะไตวายเรื้อรัง และสามารถส่งเสริมความรู้ ให้แก่ผู้ป่วยได้ถูกต้อง เหมาะสม


>