กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาร้านชำปลอดยาอันตรายและยาชายแดน ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ในสถานการณ์ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีทั้งที่มีการขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาต เช่น ปัญหาการลักลอบใส่สารอันตรายในผลิตภัณฑ์ ปัญหาสถานประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพไม่ผ่านเกณฑ์ การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศเพื่อนบ้านที่ลักลอบนำเข้ามาจำหน่าย ร้านชำจำหน่ายยาอันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในผู้บริโภคได้ รวมทั้งปัจจุบันมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ หากผู้บริโภคมีความรู้ที่ไม่ถูกต้อง
จากการตรวจสอบเฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตอำเภอเจาะไอร้อง ในปี 2565 และ 2566 พบว่า ปี 2565 ร้านชำมีการจำหน่ายยาอันตรายและยาชายแดน จำนวน 8 ร้าน จากร้านชำทั้งหมด 86 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 9.30 และปี 2566 ร้านชำมีการจำหน่ายยาอันตรายและยาชายแดน จำนวน 8 ร้าน จากร้านชำทั้งหมด 145 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 5.52 ได้ประเมินความรู้ความเข้าใจในด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ผลการประเมินพบว่า ผู้ประกอบการร้านชำไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องในปี 2565 จำนวน 41 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 41.67 และในปี 2566 จำนวน 61 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 42.01
จากข้อมูลในภาพรวมอำเภอเจาะไอร้องดังกล่าวยังพบร้านชำในพื้นที่ ต.จวบ ที่มีการจำหน่ายยาอันตรายและยาชายแดน คิดเป็นร้อยละ 7.14 และผู้ประกอบการร้านชำในพื้นที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 39.29 และทั้งนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการชี้แจงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ประกอบ การรับทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้การดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพในพื้นที่เจาะไอร้องดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาคประชาชน อาทิเช่น ผู้นำท้องถิ่น นักเรียน ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ อสม. ประชาชนผู้บริโภค และภาคีเครือข่ายภาครัฐ ได้แก่ สสจ. อปท. ด่านศุลกากร ตำรวจ โดยภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายภาครัฐมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนงานคุ้มครอง
ผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขในระดับพื้นที่ให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ดังนั้น กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลเจาะไอร้อง ได้เห็นความสำคัญของความปลอดภัยทางด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตพื้นที่ ต.จวบ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาร้านชำปลอดยาอันตรายและยาชายแดน วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข และพัฒนาร้านชำในเขตพื้นที่ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาร้านชำสู่ร้านชำสีขาว

ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของเครือข่ายในการกระจายความรู้เข้าถึงชุมชน

ร้อยละของร้านชำในพื้นที่ผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว มากกว่าร้อยละ 10

0.00
3 เพื่อให้มีใช้ยา อย่างสมเหตุผลในชุมชน

ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผักผลไม้ เครื่องสำอาง ยา สมุนไพรกลุ่มเสี่ยงไม่พบการปลอมปน มากกว่าร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท x 30 คน x 3 ครั้ง = 5,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างจำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท x 30 คน x 3 ครั้ง  = 2,250 บาท
    รวมเป็นเงิน 7,650.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในพื้นที่ ต.จวบ ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์
  2. เกิดร้านชำต้นแบบให้แก่ร้านชำในพื้นที่ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง
  3. เกิดเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาตามสภาพพื้นที่ของ ต.จวบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7650.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมลงพื้นที่ร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมลงพื้นที่ร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างจำนวน 1 มื้อๆละ 25 บาท x 30 คน x 3 ครั้ง = 2,250 บาท
-ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย= 720 บาท -ค่าโปสเตอร์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขนาด A3 จำนวน 100 แผ่น x40 บาท = 4,000 บาท - ค่าโฟมบอร์ดร้านชำสีขาว จำนวน 10 แผ่น 35 บาท = 350 บาท รวมเป็นเงิน 7,320.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในพื้นที่ ต.จวบ ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์
  2. เกิดร้านชำต้นแบบให้แก่ร้านชำในพื้นที่ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง
  3. เกิดเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาตามสภาพพื้นที่ของ ต.จวบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7320.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจสอบเฝ้าระวังร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสอบเฝ้าระวังร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณเป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าชุดทดสอบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เป็นเงิน 2,375 บาท
  • ค่าชุดทดสอบอย่างง่าย (Test kits) ราคา 8,062 บาท รวมเป็นเงิน 13,237.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในพื้นที่ ต.จวบ ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์
  2. เกิดร้านชำต้นแบบให้แก่ร้านชำในพื้นที่ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง
  3. เกิดเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาตามสภาพพื้นที่ของ ต.จวบ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13237.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,207.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ ต.จวบ ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์
2. เกิดร้านชำต้นแบบให้แก่ร้านชำในพื้นที่ ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง
3. เกิดเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาตามสภาพพื้นที่ของ ต.จวบ


>