กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1.นายมนูญ หนูทอง
2.นางวรรณา พรหมแก้ว
3.นางพัชรี รักสุวรรณ์
4.นางสาวอรอนงค์ ดำจ่า
5.นายสำรวย ด้วงคง

หมู่ที่ 1,2,5,6 และ 7 ตำบลสมหวัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีอาการปวดเข่า มีความรู้ในการผลิตยาพอกเข่า และผลิตน้ำมันนวดสมุนไพรใช้เองได

 

40.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีอาการปวดเข่า ใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่นแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน

 

10.00

ภูมิปัญญาด้านพืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี เนื่องจากอดีตกาลคนไทยเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นจะมีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาเบื้องต้นหรือรักษาพยาบาลกับหมอพื้นบ้านในหมู่บ้านตนเอง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยโดยอาศัยภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายอายุชั่วคน แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา ภูมิปัญญาความรู้ด้านการใช้ยาสมุนไพรจึงถูกลดความสำคัญลง และทำให้เยาวชนรุ่นหลังรุ้จักสมุนไพรไทยน้อยมาก และไม่รู้เลยทั้งๆที่สมุนไพรเหล่านั้นอยู่ใกล้ตัวเรานี้เอง และในบางครั้งก็มีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างผิดวิธี ผิดโรค ทำให้ไม่เห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นจึงเลิกใช้ยาสมุนไพรไป แต่ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การนวด การอบ ประคบสมุนไพร การแปรรูปสมุนไพรมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และยารักษาโรค การนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อนำผลิตน้ำมันนวดใช้เอง การใช้ยาสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบันจากการดำเนินงานแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังกิ่ง ปี 2566 พบว่ามีบริการผู้ป่วยนอก จำนวน 2151 ครั้ง บริการแพทย์แผนไทย จำนวน 410 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 19.06 (ตัวชี้วัดร้อยละ 20) จากข้อมูลดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพังกิ่ง ได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรในชุมชน เพื่อลดการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาลดการอักเสบ กล้ามเนื้อและข้อฯลฯ และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักการปลูกพืชสมุนไพรใช้ครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวัน การผลิตยาพอกเข่าและนำมันนวดสมุนไพรเพื่อบำบัดอาการปวด

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาสมุนไพรและสามารถผลิตยาพอกเข่าและน้ำมันนวดสมุนไพรใช้เองได้ ร้อยละ 80

40.00 80.00
2 เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเพิ่มการใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่น

มีการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของยาแผนปัจจุบัน

10.00 20.00
3 3.ให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตยาพอกเข่าและน้ำมันนวดสมุนไพร

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สามารถผลิตยาพอกเข่าและน้ำมันนวดสมุนไพรนำกลับไปใช้ในครัวเรือนได้

40.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและรักษาโรคเข่าเสื่อมและโรคกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพรวมถึงการสาธิตการผลิตยาพอกเข่าและน้ำมันนวดสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและรักษาโรคเข่าเสื่อมและโรคกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพรวมถึงการสาธิตการผลิตยาพอกเข่าและน้ำมันนวดสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 2 วันๆละ 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำยาพอกเข่า จำนวน 6,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำน้ำมันนวดสมุนไพร จำนวน 5,000 บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงาน จำนวน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 และประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมสามารถผลิตยาพอกเข่ารวมทั้งน้ำมันนวดนำกลับไปใช้เองในครัวเรือนได้ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นสามารถผลิตยาพอกเข่าและน้ำมันสมุนไพรใช้เองได้ร้อยละ 80
2.เพิ่มการใช้ยาสมุนไพรคิดเป็นร้อยละ 20 ของยาแผนปัจจุบัน


>