กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 50-69 ปี มีภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

10.00

มะเร็งลำไส้เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้น ๆ ในคนไทย ทั้งเพศชาย เพศหญิง และอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง สำหรับกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ตรวจค้นพบความผิดปกติ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก จากการศึกษาพบว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง คือ รับประทานอาหารมัน และเนื้อแดงมาก แต่รับประทานผักและผลไม้น้อย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ออกกำลังกายน้อยและโรคอ้วน การสูบบุหรี่และดื่มสุราจัด อาจมีผลต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้สะสมมาตั้งแต่ วัยเด็กถึงวัยทำงาน จึงมักพบโรคในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ทั้งนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงส่วนหนึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง และสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ดังนั้น การให้ความรู้การลดปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง รวมถึงการคัดกรองโดยการตรวจเม็ดเลือดแดงแฝง ในอุจจาระด้วยวิธี Fecal Immunochemical Test (FIT) ในประชาชน ซึ่งถ้าพบสามารถทำการรักษาให้หายหรือลดอัตราการเกิดโรคในระยะลุกลามและลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงได้
ทางโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลกาวะ ได้เห็นความสำคัญให้การให้ความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง และคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรงในระยะเริ่มแรก ในประชาชนอายุ 50-69 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 50-69 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 50-69 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

30.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 35
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
อบรมโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมบรรยายให้ความรู้เรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่ ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 70 คน

- ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าอาหาร อาหารกลางวัน จำนวน 70 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท - ค่าวัสดุอบรมโครงการ จำนวน 70 คน x 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 9,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง 2.ประชาชนอายุ 50-70 ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง 3.ผู้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และลำไส้ตรงที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งตัวผู้ป่วยที่มีผลบวก เพื่อการส่องกล้อง 4.ประชาชนที่พบกลุ่มเสี่ยงมาเข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับความรู้ในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง
2.ประชาชนอายุ 50-70 ปีได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง
3.ผู้ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ และลำไส้ตรงที่พบความผิดปกติ ได้รับการส่งตัวผู้ป่วยที่มีผลบวก เพื่อการส่องกล้อง
4.ประชาชนที่พบกลุ่มเสี่ยงมาเข้ารับบริการเพิ่มมากขึ้น


>