กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลสมหวัง

รพ.สต.บ้านพังกิ่ง

หมู่ที่ 1,2,5,6 และ 7 ตำบลสมหวัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานความปลอดภัยทางถนน(cancle)

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-70 ปี ที่ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม

 

50.00
2 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความรู้ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

50.00

ปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมมีอัตราป่วยและอัตราตายที่สูงขึ้นทั่วโลก และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของมะเร็งในสตรีไทยมากกว่า 10 ปี อุบัติการณ์มะเร็งเต้านมในประเทศไทยมีประมาณ 30 ต่อแสนประชากร แต่ประเทศไทย ยังไม่มีโครงการใดที่รองรับอันตรายจากมะเร็งเต้านมอย่างเป็นระบบ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ได้ทรงก่อตั้งมูลนิธิถันยรักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เพื่อให้สตรีไทยทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน พ้นจากภัยมะเร็งเต้านม สำหรับประเทศไทย การใช้ Mammogram ที่เป็นเทคโนโลยีราคาแพง เพื่อการคัดกรองมะเร็งเต้านมในประทศกำลังพัฒนานั้น เป็นไปได้ยาก แม้ในสหรัฐอเมริกาที่ใช้ Mammogram ทำการคัดกรองครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ยังสามารถทำได้เพียง 75 % แต่ประเทศไทยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่จะช่วยสอนและกระตุ้นกลุ่มสตรีไทยในชนบทให้ทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอโดยกรมอนามัยและมูลนิธิถันยรักษ์จึงได้สนับสนุนให้สตรีไทยมีความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จากการประเมินผลการดำเนินงาน ประสิทธิภาพการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทย มีแนวโน้มว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพ ทำให้พบก้อนของมะเร็งเต้านม (Cancer Size) มีขนาดเล็ดลง และพบระยะการเป็นมะเร็งเต้านม ได้เร็วขึ้น (Early Staging) โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างกลุ่มที่ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ กับกลุ่มที่ตรวจ ไม่สม่ำเสมอและเพื่อให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ดังนั้น เพื่อเป็นการเพื่อสืบสานพระราชประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ผู้ก่อตั้งมูลนิธิถันยรักษ์ฯ ให้ผู้หญิงไทยพ้นภัยมะเร็งเต้านม และเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยส่งเสริมให้สตรีไทยมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมตนเองที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ รพ.สต.บ้านพังกิ่ง จึงได้จัดทำโครงการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

หญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-70 ปี มีความรู้และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30- 70 ปี มีความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 560
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และจัดให้บริการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และจัดให้บริการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 รุ่นๆละ 56 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 10 วันๆละ 3 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายหญิงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 30-70 ปี ได้รับความรู้และมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยโรคมะเร็งเต้านมลดลง
2.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ความสามารถแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมได้
3.หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้และทัศนคติที่ดีและตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งเต้านม


>