กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี บ้านบ่อเตย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านบ่อเตย หมู่ที่ 1

1.นางรอกีย๊ะ มะแซ
2.นางสาวสุดสายใจ บ่อเตย
3.นางวราภรณ์ หวันเด็น
4.นางสาวมาซีเตาะ ดอเลาะ
5.นางอารีย์ เจ๊ะแว

ม.1 บ้านโคกสักและบ้านบ่อเตย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

50.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูหยง ปีงบประมาณ 2566 พบเด็กหมู่ที่1 บ้านโคกสักและบ้านบ่อเตยที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 5.61 ซึ่งร้อยละ 3.37 มีพัฒนาการล่าช้าทางด้านสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก 0 – 5 ปี กว่าร้อยละ 70 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 1 ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้น เพื่อการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขได้ช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการผิดปกติด้านต่าง ๆ เร็วขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

เด็ก ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม

50.00 60.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก ๐ - 5 ปี

ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็ก ๐ - 5 ปี

50.00 60.00
3 เพื่อให้เด็ก ๐ – 5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการส่งต่อรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ

เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการส่งต่อทุกราย

50.00 60.00
4 เพื่อเสริมทักษะการตรวจและการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี แก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการติดตามพัฒนาการเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าในเขตพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ

อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ มีทักษะในการตรวจและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 0 – 5 ปี

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก 60
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 18

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และสถานที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะการกระตุ้นพัฒนาการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อใช้ในการติดตามเด็กในเขตรับผิดชอบของตัวเอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะการกระตุ้นพัฒนาการแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อใช้ในการติดตามเด็กในเขตรับผิดชอบของตัวเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันในการอบรมจำนวน 18 คน X 70 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท
  • ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 18 คนX 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายละ 500 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมจากหน่วยงานในอำเภอเทพา ชั่วโมงละ 600 บาท x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ชุดตรวจพัฒนาการ (DSPM) ใช้ในการฝึกอบรมและสอนสาธิต ชุดละ 4,000 บาท
  • คู่มือการตรวจพัฒนาการ DSPM เล่มละ 50 บาทx 78 เล่ม เป็นเงิน 3,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็ก ๐ – 5 ปีได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
  • เด็ก ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
  • เด็ก ๐ – 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
  • ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ - 5 ปี
  • อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ และมีทักษะในการติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12360.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเสริมพัฒนาการบุตรหลาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเสริมพัฒนาการบุตรหลาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันในการอบรมกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน X 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างในการอบรม จำนวน 60 คนX 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็ก ๐ – 5 ปีได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
เด็ก ๐ – 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
เด็ก ๐ – 5 ปีที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ๐ - 5 ปี
อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ และมีทักษะในการติดตามกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า


>