กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักปลอดภัย ห่างไกลเอชไอวี/เอดส์ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เอดส์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ที่ส่งผลกระทบโดยรวมต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นปัญหาที่มิใช่เฉพาะการระบาดและการเจ็บป่วยเท่านั้น ยังส่งผลต่อปัญหาการรังเกียจ การตีตราและการเลือกปฏิบัติสำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีด้วย การคาดประมาณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ Spectrum-AEM (22 เมษายน 2566) คาดว่าในปีพ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น 560,000 คน มีผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ 11,000 คน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 9,200 คน สาเหตุและช่องทางการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ของผู้ใหญ่ (อายุ 15 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 3 ติดเชื้อจากการใช้เข็มและกระบอกฉีดยาไม่สะอาดร่วมกัน และส่วนใหญ่ร้อยละ 97 เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันในกลุ่มประชากรหลักและคู่ โดยช่องทางของการติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่พบมากที่สุด คือ จากเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชายถึงร้อยละ 61.8 รองลงมาคือ การมีเพศสัมพันธ์กับคู่ผลเลือดต่าง (คู่อยู่กิน/คู่ประจำ) ร้อยละ 23.3 การมีเพศสัมพันธ์กับคู่ชั่วคราวและนอกสมรส ร้อยละ 10.9 และจากการซื้อขายบริการ ร้อยละ 1 และหากจำแนกการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ตามกลุ่มประชากรที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการรับและถ่ายทอดเชื้อฯ พบว่าเป็นกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย ร้อยละ 51.7 พนักงานบริการชายร้อยละ 2.9 ผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด ร้อยละ 3.1 สาวประเภทสอง/หญิงข้ามเพศ ร้อยละ 2.3 ลูกค้า/ผู้ซื้อบริการทางเพศ (Clients of FSW)ร้อยละ 1.9 พนักงานบริการทางเพศหญิง (FSW) ร้อยละ 0.5 และสัดส่วนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ประมาณร้อยละ 37.6 เกิดขึ้นในประชากรกลุ่มอื่น (ทั้งชายและหญิง) ที่ไม่ได้มีโอกาสเสี่ยงต่อการรับและถ่ายทอดเชื้อฯ สูง ณ ช่วงเวลาเดียวกัน และจากการคาดประมาณสถานการณ์การแพร่ระบาดของเอชไอวี/เอดส์ในยะลา พบว่า ณ สิ้นปี 2565มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น 2,293 คน มีผู้ที่เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ 152 คน และมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่จำนวน 22 คน การสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชน โดยความรู้ความเข้าใจ และทักษะที่จะปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยง และหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงได้ เยาวชนต้องมีความตระหนักถึงการมีพฤติกรรมที่ปลอดภัยต่อตนเองและสังคม การให้ความสำคัญในการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เยาวชนเรื่องโรคเอดส์ยังคงเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชน ได้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและความรุนแรงของปัญหา ตลอดจนผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้น
เทศบาลเมืองสะเตงนอก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2552 ส่วนที่ 3 หน้าที่ของเทศบาลเมือง มาตรา 53 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายกำหนดให้เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาลเมือง ดังต่อไปนี้ (1) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50 คือมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการ รักปลอดภัย ห่างไกลเอชไอวี/เอดส์ ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยมุ่งเน้นในการกระตุ้นและส่งเสริมให้เยาวชน มีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

0.00
2 2.เพื่อให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยเอดส์ และการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ระยะเวลา 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ระยะเวลา 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (จำนวน 115 คน x 35 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน)      เป็นเงิน 8,050 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม (จำนวน 115 คน x 75 บาท x 1 มื้อ x 1วัน)           เป็นเงิน 8,625 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 1 คน x 500 บาท x 5 ชั่วโมง x 1 วัน)         เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร x ตรม.ละ 300 บาทx 1 ผืน)  เป็นเงิน    864 บาท
  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ (กระเป๋าผ้า, ปากกา, สมุด, กระดาษถ่ายเอกสาร A4)       เป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าชุดสาธิตการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี                         เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31039.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,039.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่
2.เยาวชนมีทักษะชีวิตด้านการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


>