กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านน้อย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสารพิษ ชีวิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านน้อย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านน้อย

นางเรียมเข็มครุธ
นายศิริพันธ์ เพ็ญนคร

หมู่ที่1- หมู่ที่6 ตำบลบ้านน้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น
ตำบลบ้านน้อยเป็นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ และจากการตรวจเลือดเกษตรกร ปี 2564 มีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน234 คนพบว่ามีผลการตรวจ ไม่ปลอดภัยและเสี่ยง จำนวน 132 คนคิดเป็นร้อยละ 50
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในตำบลบ้านน้อย ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านน้อย จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลบ้านน้อย จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองสารพิษชีวิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัยขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและผู้บริโภคในตำบลบ้านน้อย ได้รับความรู้และรับทราบสถานสุขภาพของตนเองโดยการเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำ ร้านแผงลอย ร้านอาหารและประชาชนทั่วไปมีความรู้เรื่องการ เลือกซื้อและการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ

 

0.00
2 เพื่อให้ร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายเครือข่ายกลุ่มเกษตรปลอดสารพิษ

 

0.00
4 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 240
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประสานงานกับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อย /อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานกับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อย /อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 10 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านโดยมีกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้านผ่านเวทีประชุมหมู่บ้านโดยมีกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้แก่เกษตรกร และผู้บริโภคทั่วไป และสาธิตการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. เจาะโลหิตตรวจหาสารพิษตกค้างในกระแสเลือด พร้อมทั้งแจ้งผลใ
  3. สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารจากร้านค้าและทดสอบสารไอโอดีนในเกลือ
  4. ประชาสัมพันธ์การต่อต้านการใช้สารเคมีและติดป้ายประชาสัมพันธ์การต่อต้านสารพิษและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลให้กับประชาชนในหมู่บ้านรับทราบผ่านเวทีการประชุมหมู่บ้าน
  5. ประสานงานกับโรงพยาบาลโพทะเลในการออกสุ่มประเมินการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและให้ความรู้เรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11610.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินกิจกรรมงานคุ้มครองผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินกิจกรรมงานคุ้มครองผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อวางแผนการดำเนินงานการออกตรวจร้านแผงลอยและร้านชำในตำบล
  2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและดำเนินการตามแผน
  3. ออกตรวจและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการร้านชำประจำปีและให้คำแนะนำ จำนวน  2  ครั้ง
  4. ออกตรวจการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น และให้คำแนะนำร้านอาหารและแผงลอยจำนวน  2  ครั้ง
  5. เก็บตัวอย่าง   ส่งตรวจยาฆ่าแมลงตกค้างในผักและสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันราฟอร์มาลินในตำบล
  6. แจ้งผลการตรวจให้ร้านชำและแผงลอยจำหน่ายอาหารให้ผู้ประกอบการทราบและมอบป้ายCleanfood  goodtaste  ให้กับร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์
  7. ประชาสัมพันธ์การเลือกซื้ออาหารที่ถูกต้องแก่ประชาชนทางหอกระจายข่าวและสื่ออื่นๆ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการขยายเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการขยายเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปรวบรวมรายงาน และประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปรวบรวมรายงาน และประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,160.00 บาท

หมายเหตุ :
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (1 มื้อ)สำหรับประชาชนที่รับการตรวจสารพิษจำนวน240คนคนละ 25บาท เป็นเงิน 6,000.-บาท
2. ค่าวัสดุชันสูตร เป็นเงิน5,610.- บาท
-แผ่นตรวจโคลีนเอสเทอเรส จำนวน 3 กล่องๆละ 675.- เป็นเงิน2,025.-บาท
-ถุงมือ Disposable จำนวน 2 กล่องๆละ 250.-เป็นเงิน500.-บาท
- ถาดดินน้ำมัน24ช่อง จำนวน2 ถาดๆละ150.-เป็นเงิน 300.-บาท
- หลอดเลือด 100 อัน/กล่อง จำนวน3 กล่องๆละ 150.-เป็นเงิน450.-บาท
- แอลกอฮอล์ 70 % ขนาด 450 mlจำนวน 2 ขวดๆละ 75.- เป็นเงิน150.-บาท
- สำลีปั้นก้อน จำนวน1ถุงๆละ 185.-เป็นเงิน185.-บาท
-ชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร จำนวน100 ขวดๆละ 20 เป็นเงิน 2,000.-บาท
3.ค่าอาหารสำหรับคณะกรรมการในการออกตรวจคนละ 100 บาท*10*2 ครั้ง เป็นเงิน 2,000 บาท
4.ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน1,550.- บาท
- แบบแจ้งผลการตรวจ จำนวน300แผ่นๆละ 3.50เป็นเงิน1,050.-บาท
- ค่าถ่ายเอกสารและจัดทำรูปเล่มสรุปโครงการเป็นเงิน500.- บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,160.-บาท
หมายเหตุ: ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
2. มีกลุ่มผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ
3. มีการเฝ้าระวังงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
4. ลดอัตราป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร และแพ้สารเคมีทางการเกษตร


>