กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุมน้ำตาลหั่นเบาหวาน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทะนง

อสม.หมู่ที่ 1

นางสโนคำมขำ

ตำบลทะนงอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม จากการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน ประเทศไทยมีภาระจากกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 300,000 กว่ารายในปี พ.ศ. 2552 หรือ คิดเป็น 73% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจาก กลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลกสำหรับโรคในกลุ่ม NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตสูงสุด7 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วนลงพุง เนื่องด้วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องควบคุมระดับของโรคและอยู่ในความดูแลของแพทย์ไม่สามารถตรวจสอบความเป็นไปของโรคด้วยตัวเองได้คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
จากสถานการณ์โรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะนง หมู่ที่ 1 พบว่าจากข้อมูลสถานะสุขภาพโรคเรื้องรังได้แก่ โรคเบาหวาน ภายในหมู่ 1 พบว่ามีร้อยละการป่วยในปี 2561 2562 2563 2564 2565 ได้แก่ 8.04 9.29 9.74 9.55 9.81 ตามลำดับ โรคความดันโลหิตสูง ภายในหมู่ 1พบว่ามีร้อยละการป่วยในปี 2561 2562 2563 2564 2565ได้แก่ 20.86 22.64 24.36 24.01 25.29 ตามลำดับ จากการทำประชาคมเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและการใช้วิธีการทางสถิติ พบว่าสาเหตุของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คือพฤติกรรมการรับประทานอาหารประกอบด้วย ความรู้ ความเครียด ซึ่งสาเหตุดังกล่าวนอกจากจะทำให้เกิด 3 โรคข้างต้นแล้วยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นที่ร้ายแรงได้ เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโรคไต โรคทางตา
ดังนั้นชมรม อสม.ม.1บ้านทะนง จึงได้จัดทำโครงการคุมความดัน หั่นเบาหวานโดยมีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและการจัดการความเครียดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถอยู่กับโรคได้อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความเครียด ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2023

กำหนดเสร็จ 28/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการจัดการความเครียด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการจัดการความเครียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการให้ความรู้ประกอบด้วย  ธงโภชนาการ  การอ่านฉลากโภชนาการ  การฝึกปฏิบัติทักษะเลือกบริโภคอาหารว่าควรเลือกบริโภคชนิดใด  การฝึกจัดการความเครียด

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตได้ด้วยตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1093.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการร่วมกันหาแนวทางในการรับประทานอาหาร  การจัดการความเครียด  ให้ผู้เข้าร่วมโครงการตัดสินใจเลือกแนวทางการปรับเปลี่ยนและลงมือปฏิบัติ  โดยมีการลงพื้นที่หากลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  4 ครั้ง - ค่าจ้างเหมารถจักรยานยนต์  จำนวน 4  คันๆละ 200 บาท  จำนวน 4 วัน  เป็นเงิน  3,200 บาท - ค่าแผ่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 กล่อง ๆละ  642 บาท  เป็นเงิน 642 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2566 ถึง 28 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ความรู้ วิธีการในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3842.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,935.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตนเอง
2. กลุ่มเป้าหมายสามารถเผยแพร่ความรู้ วิธีการในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด


>