กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสูงวัย สุขใจ อย่างมีคุณค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ

อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผู้สูงอายุตำบลเกาะเปาะ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และพบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพได้แก่ปัญหาการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคเครียดของผู้สูงอายุ และอีกหลายๆโรค ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ทั้งคุณภาพชีวิตลดลง ตลอดจนผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และบทบาทของครอบครัวต่อการดูแลผู้สูงอายุเริ่มมีแนวโน้มลดลง ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายและกำหนดแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุตลอดมา และเพื่อรักษาและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ที่นับวันเทคโนโลยีอื่นเข้ามาแทนที่ ทำให้ลูกหลานคนรุ่นใหม่ ไม่สืบทอดวัฒนาธรรมที่มีมายาวนาน
ดังนั้น เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลเกาะเปาะ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถทางด้านวัฒนธรรมมีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมนันทนาการและสืบทอดวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาที่มีในตำบลให้แก่ผู้สูงอายุคนอื่นได้รับการดูแลสุขภาพมีคุณค่า การพัฒนาทางด้านสังคม อันได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อน การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน การปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ได้แก่ การเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความสุข ลดการตึงเครียด ซึ่งเมื่อสุขภาพจิตดี สุขภาพกายจะดีตามไปด้วย จึงเกิดแนวคิดในการจัดโครงการสูงวัย สุขใจอย่างมีคุณค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 นั้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชนและพูดคุยกันระหว่างผู้สูงอายุ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ

1.ร้อยละ 70 เกิดความสามัคคีในชุมชนและพูดคุยกันระหว่างผู้สูงอายุ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ

20.00 60.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน

2.ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน

30.00 80.00
3 3.เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และให้สังคมตระหนักในคุณค่าของผู้สูงอายุ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

3.รัอละ 80 ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

50.00 90.00
4 4.เพื่อให้ผู้สูงอายุตำบลเกาะเปาะ ได้แสดงศักยภาพและถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่สังคม สามารถดำรงชีวิต สร้างความสัมพันธ์ที่มีระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัยได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข

4.ร้อยละ 70 ผู้สูงอายุตำบลเกาะเปาะ ได้แสดงศักยภาพและถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่สังคม สามารถดำรงชีวิต สร้างความสัมพันธ์ที่มีระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัยได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมั่นคงและมีความสุข

30.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
2.ผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรม มีการพบปะพูดคุยมีกำลังใจ สร้างความรัก ความอบอุ่น ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัยให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
3.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จะสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ให้กับผู้สูงอายุรายอื่นและประชาชนทั่วไป ให้มองเห็นคุณค่า ประโยชน์ของการได้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุที่ติดบ้านอยากออกมาพบปะเพื่อนวัยเดียวกัน ลดความเครียด คลายความเหงา และมีความสุข มองเห็นคุณค่าาของตนเอง


>