กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค หมู่ที่ 4 บ้านรือเปาะ ตำบลดุซงญอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดุซงญอ

มัสยิดอัลหูรียะห์ (บ้านรือเปาะ)

หมู่ที่ 4 บ้านรือเปาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โครงการส่งเสริมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรค หมู่ 4 บ้านรือเปาะ กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่อยู่ในช่วงการทำงานเพื่อหารายได้ในครอบครัว จากการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนด้านพฤติกรรมต่างๆ เช่น พฤติกรรมการเลือกอาหารเพื่อบริโภค การออกกำลังกาย การประกอบอาชีพ ความเครียด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมเหล่านี้จะมีผลต่อภาวะสุขภาพ เช่น เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานเช่น อาการปวดไหล่ ปวดแผ่นหลัง เอว ปวดตามข้อ เป็นต้น
จากการดำเนินงานการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ พบว่ากลุ่มวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ และสุขภาพร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมลงทำให้มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หลอดเลือดสมอง และจากการสำรวจ พบว่ากลุ่มสตรีมุสลิมมีการออกกำลังกายน้อยกว่ากลุ่มบุรุษ โดยมีพฤติกรรมการออกกำลังกายไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายนานๆ ครั้ง สาเหตุที่กลุ่มสตรีมุสลิมไม่ออกกำลังกาย พบว่า ส่วนหนึ่งมาจากการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามที่ห้ามให้มีการเปิดเผยตัวเอง หรือแสดงท่าทางไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ จึงทำให้สตรีมุสลิมไม่กล้าออกกำลังกายโดยใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือออกกำลังกายในที่สาธารณะ ในส่วนการเลือกรับประทานอาหาร พบว่า กลุ่มแม่บ้านถือเป็นตัวหลักในการตัดสินใจเลือกอาหารเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็นอาหารที่สามารถหาได้ง่ายและเก็บได้นาน เช่น ปลาเค็ม ปลาส้ม บูดู เป็นอาหารที่มี รสชาติเค็ม มัน และรสหวาน ซึ่งอาหารต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังได้ ปัญหาเหล่านี้จึงต้องได้รับการแก้ไข เพื่อเป็นการป้องกันโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของมุสลิม

มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ สามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ร้อนละ 70

0.00
2 เพื่อควบคุมป้องกัน และลดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้กับประชาชนในชุมชน

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้และทักษะที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง  มีสุขภาพดี  สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 30

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 24
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 2
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำ ชุมชน คณะกรรรมการมัสยิด และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำ ชุมชน คณะกรรรมการมัสยิด และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 33 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 825 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้และทักษะที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง  มีสุขภาพดี   สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2025.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมกลุ่มเป้าหมาย การดูแลสุขภาพด้วยหลัก 5 อ. 2ส.

ชื่อกิจกรรม
อบรมกลุ่มเป้าหมาย การดูแลสุขภาพด้วยหลัก 5 อ. 2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 110 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,.750 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 110 คน 45 บาท เป็นเงิน 4,950 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*2 เมตร เป็นเงิน 700 บาท 5. ค่าป้ายไวนิลปิงปอง 7 สี ขนาด 2.5 * 1 เมตร ๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มฮาลาเกาะฮ์(สตรี),กลุ่มกีรออาตี(บุรุษ) มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ สามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12275.00

กิจกรรมที่ 3 Focus Group เพื่อติดตามแยกตามกลุ่มสีในแต่ละระแวกบ้านกลุ่มเป้าหมายอาศัย 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
Focus Group เพื่อติดตามแยกตามกลุ่มสีในแต่ละระแวกบ้านกลุ่มเป้าหมายอาศัย 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วม Focus Group แยกตามกลุ่มสี จำนวน 65 คน ๆ ละ 3 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,875 บาท
  2. ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย
         2.1 ยางยืด จำนวน 6 เส้น ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 390 บาท      2.2 เชือกออกกำลังกายแขน คลายเส้นแขน จำนวน 6 ชิ้น ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 600 บาท      2.3 กะลานวดเหยียบฝ่าเท้า จำนวน 6 อัน ๆ ละ 85 บาท เป็นเงิน 510 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มฮาลาเกาะฮ์ (สตรี)กลุ่มกีรออาตี(บุรุษ) มีการออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6375.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,675.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มฮาลาเกาะฮ์(สตรี),กลุ่มกีรออาตี(บุรุษ) มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ สามารถปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
2. กลุ่มฮาลาเกาะฮ์ (สตรี)กลุ่มกีรออาตี(บุรุษ) มีการออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต
3.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีความรู้และทักษะที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองมีสุขภาพดี สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงและน้ำตาลในเลือดได้
4.สามารถควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดการเกิด Strok


>