กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการทานตามหลักโภชนาการและการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ชุมชนเมืองพิมาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

อสม.ชุมชนเมืองพิมาน

1.นางมาลี บินสอาด 0894629310
2.นางสิริพร สุขสัจธรรม 0812764058
3.นางสาวศศิธร ศิษฎิโกวิท 0899759957
4.นางจารุวรรณ สุขพลอย 0872883814
5.นายวรินทร์ บินสอาด 0948060557

ชุมชนเมืองพิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเมืองพิมาน

 

127.00
2 จำนวนประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานจำนวนในชุมชนเมืองพิมาน

 

51.00

โรคเรื้อรังเป็นสาเหตุสำคัญของสถิติเสียชีวิตของคนไทยความอ้วนเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดโรคเรื้อรังจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในชุมชนพิมาน ดังนี้ ผุู้ป่วยโรคเบาหวาน 51 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 127 คน อสมชุมชนพิมานเล็งเห็นความสำคัญจึงจัดทำโครงการส่งเสริมการทานตามหลักโภชนาการและการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน ชุมชนเมืองพิมาน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มประชาชนเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการทานตามหลักโภชนาการ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

0.00 70.00
2 สร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการเลือกใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

0.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รับสมัครผู้เข้ารับการอบรมจากประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนตำบลพิมาน คณะทำงานและวิทยากร รวม จำนวน 50 คน อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการทำอาหารและน้ำสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ
กำหนดการอบรม
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน /ทำแบบประเมินก่อนการอบรม
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ ประโยชน์ของสมุนไพรพื้นบ้าน /การปลูกผักพื้นบ้านทานเอง 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.30 น. ให้ความรู้และสาธิตการทำน้ำ/อาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน โดยวิทยากรจาก ศูนย์สุภาพชุมชนศรีพิมาน
15.30 - 16.00 น. ทำแบบประเมินหลังการอบรม / ปิดโครงการ หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
3.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม เมนูอาหารที่ใช้สมุนไพรพื้นบ้าน งบประมาณเป็นเงิน 2,000 บาท ได้แก่
ตะไคร้ 100 บาท ใบมะกรูด 50 บาทข่า 100 บาท หอมแดง 100 บาทบูดูสด 60 บาท ข้าวสาร 290 บาท
มะพร้าวคั่ว 200 บาทกุ้งแห้ง 300 บาทพริกป่น 100 บาทพริกไทยคั่ว 100 บาทแตงกวา 100 บาทถั่วฝักยาว 50 บาท
ถั่วงอก 100 บาท มะม่วง 50 บาทดอกดาหลา 100 บาทน้ำตาลทราย 100 บาทใบเตย 100 บาท
5.ค่าเอกสารประกอบการอบรม ได้แก่ คู่มือธงโภชนาการ/สมุนไพรเพื่อสุขภาพฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท
6.ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 เมตร* 3 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2024 ถึง 30 มิถุนายน 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวนที่กำหนด 50 คน
2.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักโภชนาการ การใช้สมุนไรพื้นบ้านดูแลสุขภาพ และการใช้อุปกรณ์ประเมินน้ำหนัก คำนวนค่า BMI

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13550.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สร้างกลุ่มไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ และมีการลงติดตามผลรายครัวเรือน
2.ส่งรูปแลกเปลี่ยนพร้อมอธิบายสูตรและการทำแลกเปลี่ยนเพื่อนสมาชิก
3.ประชุมถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรม
4.สรุปผลการดำเนินโครงการเป็นรูปเล่ม จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2024 ถึง 31 สิงหาคม 2024
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มไลน์ในการติดตาม
2.สรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,050.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนเมืองพิมานมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
2.ประชาชนในชุมชนเมืองพิมานมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลตัวเอง
3.ประชาชนในชุมชนเมืองพิมานสามารถปฏิบัติตนในการดูแลน้ำหนักและการหาค่า BMI ตัวเองและคนในครอบครัวได้


>