กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. นางซาลือมา สาและ
2. นางสาวฟิรดาวส์ มายีซา

ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

คนไทยกว่า 10.5 ล้านคนป่วยด้วยโรคที่เชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศในปี 2566 ถือว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ถึง 116%
ซึ่งเป็นข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ซึ่งแม้แต่ปัจจุบันเอง คุณภาพอากาศของประเทศไทยก็ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ
ตั้งแต่เริ่มปี 2567 เป็นต้นมา มีรายงานการเผาตอซังข้าวและไฟป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ทางตอนเหนือของไทย ก่อให้เกิดควันพิษ กระจายไปยังหลายพื้นที่ รวมถึงกรุงเทพมหานคร
ซึ่งจังหวัดปัตตานีได้รับแจ้งว่าปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินค่ามาตรฐานขึ้นในหลายพื้นที่ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชนก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและร่างกายของประชาชน ปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองทำให้คนที่อยู่ในที่โล่งนานๆมีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล คอแห้งระคายคอ หายใจติดขัด เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด สถานการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากหลายๆปัจจัย เช่น การขนส่งและการจราจร การเกิดไฟป่า การเผาในที่โล่งแจ้ง การก่อสร้างที่ไม่มีการควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่น เป็นต้น ปัญหาการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง มาจากปัจจัยหลายๆอย่าง ได้แก่ควันพิษจากโรงงาน การขนส่งและการจราจร และการเผาในที่โล่ง (Open Burning) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาขยะ การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน การเผาพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการทำการเกษตร นอกจากจะส่งผลกระทบด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียง จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นล้วนก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพกับประชาชน ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กเป็นทั้งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคอันตรายต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ สาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่ รองลงมาจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคมะเร็งปอด ด้วยเหตุผลข้างต้นสำนักปลัด องค์การบรหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงจัดทำโครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) 2. เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โครงการป้องกันและดูแลสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ประจำปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการ และเสนอขออนุมัติโครงการ
  2. วางแผนการดำเนินการ
  3. ประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบ
  4. ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  5. สรุปผล ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินการ

รายละเอียดงบประมาณ

  1. ค่าป้ายโครงการ 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 6,400 บาท
  3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 คนๆละ 35 บาท X มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท
  4. ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
  5. ค่ากระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน ใบละ 80 บาท จำนวน 80ใบ เป็นเงิน 6,400 บาท รวมเป็นเงิน 23,050 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถป้องกันการเกิดโรคทางเดินหายใจจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)
2.ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง มีความเข้าใจ เกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)


>