กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควนคูหาต้นแบบร่วมใจในการจัดการขยะอย่างครบวงจร หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควนคูหาต้นแบบร่วมใจในการจัดการขยะอย่างครบวงจร หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ่อทอง

ชมรมอาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่1

1.นางปารีเดาะ กาแบ
2.น.ส.รอฮะนี อาแว
3.น.ส.เจะแย ตาเละ
4.น.ส.สารีป๊ะ หมัดดาโต๊ะ
5.นางศศิธร เจ๊ะอี

หมู่ที่ 1 บ้านควนคูหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

20.00
2 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

100.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

20.00

เมื่อกล่าวถึงสุขภาพเป็นกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างแยกไม่ได้ และเป็นเหตุผลสำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ย่อมมีการใช้ปัจจัยสี่ในการใช้ชีวิตเพื่อการอยู่รอด ผลของการใช้ปัจจัยดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อระบบธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการบริหารจัดการในการใช้เพื่อรักษาและบำรุงไว้ซึ่งธรรมชาติให้มีความสมดุล เพื่อคนรุ่นหลังให้ได้รับโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข กิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ระบบธรรมชาติเราเกิดความสมดุลอย่างดีคือการจัดการขยะก่อนทิ้งที่จะทิ้งลงถังเพื่อส่งเสริมการสร้างกระแสของประชาชนให้มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ ถ้าทุกคนในชุมชนมีระเบียบวินัยในการจัดการขยะก่อนทิ้งลงถัง ความสะอาดในชุมชน ความเป็นระเบียบ จึงเกิดความปลอดภัยในการดำรงชีพ เพราะขยะเป็นสิ่งที่อาจจะเป็นแหล่งของเชื้อโรคได้ หากมีการบริหารจัดการที่ไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยกันควบคุมกำกับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ต่อการจัดการอย่างมีคุณภาพและมีความคุ้มค่าที่สุด เช่น ขยะในครัวเรือนที่เป็นเศษวัสดุเหลือจากการบริโภคส่วนมากเป้นขยะที่ย่อยสลายได้หรือเรียกว่าขยะอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ พอได้อายุสามารถนำมาใส่ต้นไม้ให้เจริญงอกงามมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น บางชนิดสามารถนำมารวบรวมให้ได้จำนวนมากๆ นำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวหรือบางชนิดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ส่วนขยะที่เป็นเศษขยะหรือใบ้ไม้ก็นำมารวบรวมเป็นกองโดยอาศัยกรรมวิธีของการหมัก ซึ่งสามารถสอบถามกรรมวิธีจากนักวิชาการเกษตรในพื้นที่ได้
ปัจจุบันพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบ่อทอง มีปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น เศษขยะอินทรีย์ จากบ้านเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ ฯลฯ ที่เหลือจากการนำมารับประทานและทิ้งโดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะตกค้างสะสมส่งกลิ่นเน่าเหม็น ประกอบกับปัจจุบันประชาชนมีแนวโน้มการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยการลดหรือเลิกใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีในกระบวนการผลิต หันมาทำเกษตรแบบธรรมชาติ พึ่งพาตัวเอง ปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ การทำน้ำหมักชีวภาพถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ เพราะเป็นการลดปริมาณขยะอินทรีย์จากต้นทาง และเป็นการลดต้นทุนช่วยปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์และสามารถนำน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตได้ไปเป็นปัจจัยการผลิตพืชอินทรีย์ ช่วยลดปัญหาขยะอินทรีย์ในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

20.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

100.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

20.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การบรรยาย อบรมให้ความรู้ การนำขยะอินทรีย์ (เศษอาหาร,ผัก,ผลไม้) จากครัวเรือนมาทำน้ำหมักชีวภาพให้แก่ประชาชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤศจิกายน 2566 ถึง 24 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ ม.1 มีความรู้ และนำไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดทำถังขยะเปียก

ชื่อกิจกรรม
จัดทำถังขยะเปียก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องถังขยะเปียก พร้อมสาธิตวิธีการทำถังขยะเปียก

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤศจิกายน 2566 ถึง 28 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกครัวเรือนมีการจัดทำถังขยะเปียก เพื่อรองรับขยะอินทรีย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ทำน้ำหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
ทำน้ำหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ พร้อมสาธิตวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 ธันวาคม 2566 ถึง 22 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือนในชุมชนมีการทำน้ำหมมักชีวภาพ และสามารถใช้ประโยชน์ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งธนาคารขยะ/ศึกษาดูงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งธนาคารขยะ/ศึกษาดูงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการธนาคารขยะ /ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการธนาคารขยะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2567 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแต่งตั้งคณะทำงาน มีการซื้อ-ขาย ทำให้มีรายได้ และปริมาณขยะลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 5 ทำความสะอาด Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
ทำความสะอาด Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม Big Cleaning Day จำนวน 3 ครั้ง เพื่อให้ชุมชนมีความสะอาด ปราศจากขยะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มกราคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนตระหนักและช่วยกันรักษาความสะอาด ทำให้ชุมชนน่าอยู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 6 ประกวดหน้าบ้านน่ามอง

ชื่อกิจกรรม
ประกวดหน้าบ้านน่ามอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมประกวดหน้าบ้านน่ามอง เพื่อกระตุ้นให้ครัวเรือนจัดการสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 6 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือน/ชุมชน มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าอยู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมถอดบทเรียนการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กันยายน 2567 ถึง 13 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถถอดบทเรียนในการดำเนินกิจกรรมและสรุปเป็นรูปเล่มต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีการรักษาความสะอาดในบ้านเรือน ชุมชน
2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการขยะประเภทต่างๆ
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง


>