กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อย.น้อย ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพ ปี 2567 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด

-

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันมีสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ออกวางจำหน่ายหลายชนิดหลายยี่ห้อ ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ มีทั้งที่มีประโยชน์และมีโทษโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในชุมชนมีการแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก เช่น ตรวจพบยาอันตรายที่จำหน่ายในร้านขายของชำ ตรวจพบเครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ขายตามตลาดนัด หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งประชาชนอาจเกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ การมีเครื่องมือที่เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างประชาชนกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค จะช่วยแก้ปัญหาการแพร่กระจายของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในชุมชนได้อย่างตรงจุดมากขึ้นช่วยลดผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนได้
การดำเนินงานเครือข่ายผู้บริโภคของอำเภอตะโหมด ได้ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่องโดยโรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้บริโภค ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการร่วมกันแก้ปัญหาด้านการบริโภคอำเภอตะโหมด
ดังนั้น จึงจัดทำโครงการ อย.น้อย ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพ ปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการจัดอบรมให้ความรู้แก่ ครู นักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านระบบ TaWai Chat Bot และเพื่อให้เกิดต้นแบบระบบและแนวทางการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน โดย “TaWai” เป็นเครื่องมือและระบบจัดการความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ผลิตภัณฑ์ต้องสงสัย ผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาเกินจริง ในส่วนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและครอบคลุมประชาชนในเขตอำเภอตะโหมดมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพมากขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะการดำเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่เครือข่ายผู้บริโภคตัวน้อย (อย.น้อย) ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพมากขึ้น

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านระบบ TaWai Chat Bot.....

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ

0.00
3 เพื่อให้การดำเนินงานด้านเครือข่ายผู้บริโภคเกิดความต่อเนื่องและเข้มแข็ง

ประมวลผลจากการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot..

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทดสอบ pre test
  2. ให้ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่ อย.น้อยควรรู้
  3. ให้ความรู้เรื่อง Tawai for health และ การรายงาน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot
  4. ฝึกปฏิบัติการรายงาน TaWai Chat Bot
  5. ทดสอบ post  test งบประมาณ
  6. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากร และผู้จัดการอบรม จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาท  จำนวน  50 คน   เป็นเงิน  3,000 บาท
  7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากรและผู้จัดการอบรม  จำนวน  2  มื้อ ๆ ละ  25   บาท  จำนวน  50 คน   เป็นเงิน  2,500 บาท
  8. ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 1,000 บาท (ตามรายละเอียดที่แนบ)
  9. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน (ขนาด 1.2X2.4 ม.)  เป็นเงิน  576  บาท
  10. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท X 2 คน  X  2 ชั่วโมง    เป็นเงิน  2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ ประมวลผลจากการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot..

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9476.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,476.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชมรม อย.น้อย มีการพัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถของสมาชิกมากขึ้น
2. เกิดความร่วมมือร่วมใจจากเครือข่ายผู้บริโภค
๓. ประชาชนอำเภอตะโหมดมีพฤติกรรมในการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น


>