กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เข้าใจ ใส่ใจ ปลอดภัยโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

โรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง,โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ถึง พ.ศ.2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง (กรมควบคุมโรค, 2562) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก "กรรมพันธุ์และพฤติกรรม" เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน
ดั้งนั้น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว และได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เข้าใจ ใส่ใจ ปลอดภัยจากโรคตามหลัก 3อ2ส เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรั้งได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง

70.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง

อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ลดลง

70.00 70.00
3 เพื่อเสริมสร้างบุคคลต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

มีบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส

  • ค่าไวนิลโครงการขนาด 1x4 เมตร เมตรละ 200 บาท เป็นเงิน 800.-บาท

  • ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600.-บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 1 วัน จำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 4,900.-บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 65 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 1 วัน จำนวน 70 คน เป็นเงิน 4,550.-บาท

  • ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 4,200.-บาท

  • ค่าถ่ายเอกสาร เป็นเงิน 500.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,550.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18550.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงหลังเข้าร่วมโครงการ ทุก 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามและคำแนะนำในการเลือกรับประทาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้

2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

4.อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงลดลง


>