กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลปุโรง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง

องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดีปัจจุบันไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมีสถิติจำนวนผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออกมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในบางรายอาจมีอาการไข้เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่อาการที่ร้ายแรงก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและขยายพื้นที่การระบาดออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะน้ำขัง การคมนาคมที่สะดวกปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกีเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกีชุกชุม และมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีผลต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2567 (ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง Digital 506 กรมควบคุมโรค) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Dengue hemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome: DSS) สะสมรวม 21,333 ราย อัตราป่วย 32.86 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 21 รายส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดยะลา ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 206 รายและส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในอำเภอกรงปินัง มีผู้ป่วย 47 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 154.71 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก
องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตามอำนาจหน้าที่แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 67 (3) ป้องกันและระงับโรคระบาดงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรงจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

มีการกำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
2 เพื่อควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก

สามารถควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง และลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก

0.00
3 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมการใช้เครื่องพ่นฝอยละเอียด (ULV) สำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)

ชื่อกิจกรรม
อบรมการใช้เครื่องพ่นฝอยละเอียด (ULV) สำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.40 X 3.00 ม. เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 3 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5350.00

กิจกรรมที่ 2 พ่นฝอยละเอียด (ULV) และหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยง 14 แห่ง

ชื่อกิจกรรม
พ่นฝอยละเอียด (ULV) และหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยง 14 แห่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าน้ำยาพ่นฝอยละเอียด (ULV)จำนวน 1 ขวดๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าน้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงจำนวน 1 ขวดๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 14 ลิตรๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 630 บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซล จำนวน 28 ลิตรๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 980 บาท
  • ค่าน้ำมัน 2T ขวดละ 0.5 ลิตร จำนวน 1 ขวดๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 65 บาท
  • ค่าเบี้ยเลี้ยงสำหรับทีมพ่น ULV และหมอกควัน จำนวน 7 วันๆ ละ 6 คนๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 3,360 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 พฤษภาคม 2567 ถึง 19 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8835.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยทำโลชั่นกันยุงและสเปรย์ไล่ยุงจากสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
อบรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยทำโลชั่นกันยุงและสเปรย์ไล่ยุงจากสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัตถุดิบและส่วนประกอบทำโลชั่นกันยุง เป็นเงิน 1,500 บาท ได้แก่ 1.รีโพลี(Repoly) 600 ml ราคา 300 บาท 2.ทวีน20(Tweenn20) 600 ml ราคา 100 บาท 3.ไวท์ออยล์ (white oil) 150 ml ราคา 200 บาท 4.น้ำมันตะไคร้หอม 150ml ราคา 450 บาท 5.กันเสีย 50ml ราคา 50 บาท 6.ขวดใส 100 ml จำนวน 40 ขวด ราคา 400 บาท
  • ค่าวัตถุดิบและส่วนประกอบทำสเปรย์ไล่ยุง เป็นเงิน 2,475 บาท ได้แก่ 1.แอลกอฮอล 95% 4000 ml ราคา 780 บาท 2.กานพลู 500 กรัม ราคา 400 บาท 3.การบูร 400 กรัม ราคา 500 บาท 4.สารสกัดกลิ่นตะไคร้หอม 100 ml ราคา 450 บาท 5.ขวดสเปรย์ 100 ml จำนวน 40 ขวด ราคา 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในหมู่บ้าน ทั้ง 4 หมู่

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในหมู่บ้าน ทั้ง 4 หมู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ขนาด A4 (กระดาษอาร์ตมัน) หนาไม่น้อยกว่า 170 แกรม พิมพ์ข้อความอักษรพื้นหลัง 4 สี จำนวน 200 ฉบับๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,985.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กำจัดยุงลายพาหะของโรคและป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก
2. ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>