กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตะบูน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตะบูน

ชมรมผู้สูงอายุบางสามแพรก

ชมรมผู้สูงอายุบางสามแพรก

ศาลาเอนกประสงค์ SML หมู่ที่ 8 ต.บางตะบูน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุมาร่วมทำกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการสร้างเสริมสุขภาพ
2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
3. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองเบื้องต้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว โดยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ราว 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้สูงอายุไทยจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวมในอีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามลำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ.2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และทุกๆ 100 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธืสถาบันวิจัยและพฒนาผู้สูงอายุไทยละสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558) จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือ ผู้สูงอายุติดสังคม หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ และอีกร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม ซึ่งในเขตองค์การบริหารส่วตำบลบางตะบูนมีผู้สูงอายุ 350 คน จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควร ดังนั้น เพื่อให้มีภาวะโภชนาการดี ลดการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ และความพิการซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น ชมรมผู้สูงอายุบางสามแพรก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และเกิดความร่วมมือดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  2. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง
  3. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณค่าในสังคม ไม่ถูกทอดทิ้ง และเป็นผู้สูงอายุติดเตียงลดลง


>