กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการขยะในชุมชน (หมู่ที่ ๑ ตำบลนาขยาด )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

ชมรมรักสุขภาพบ้านศาลาต้นรัก (นางจุติพร ขุนฤทธิ์)

๑. นางจุติพร ขุนฤทธิ์
๒. นางมณฑาทิพย์ อิ่มประดับ
๓. นางเบญจมาศ พงศ์วิทยารักษ์
๔. นางสาวจุฑาภรณ์ คงฤทธิ์
๕. นางสาวอาภรณ์ มาสง

ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาต้นรัก ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

250.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

35.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

20.00
4 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

20.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

10.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

250.00 200.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

20.00 40.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

10.00 25.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

35.00 40.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle)

ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

20.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 11/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการของชมรมรักสุขภาพบ้านศาลาต้นรัก จำนวน ๕ คน สถานที่ประชุม ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านศาลาตนรักเป้าหมายเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการ มีค่าใช้จ่ายดังนี้
๑. ค่าอาหารว่าง จำนวน ๕ คน ๑ มื้อ มื้อละ ๒๕บาท เป็นเงิน๑๒๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2567 ถึง 17 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการที่มีความรู้ความเข้าใจและมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
125.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการจัดการขยะ เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน และเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ รวมทั้งเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก ประกอบด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน ๕ คน และคนวัยทำงาน ๔๕ คนกิจกรรม ๑ วัน มีค่าใช้จ่ายดังนี้
๑. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๔ ชั่วโมง ชั่วโมงละ ๖๐๐บาท เป็นเงิน ๒,๔๐๐บาท
๒. ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อ มื้อละ ๖๐บาท จำนวน ๕๐ คน เป็นเงิน ๓,๐๐๐บาท
๓. ค่าอาหารว่าง ๒ มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท จำนวน ๕๐ บาท เป็นเงิน ๒,๕๐๐บาท
๔. ค่าวัสดุสำหรับสาธิตการทำไม้กวาดจากขวดพลาสติกจำนวน ๑,๒๐๐ บาท
๕. ค่าป้ายไวนิล ขนาดกว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร ยาว ๒๔๐ เซนติเมตร เป็นเงิน ๕๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2567 ถึง 20 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครัวเรือน จำนวน๔๐ ครัวเรือน ได้รับความรู้ในการคัดแยกขยะมีครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำเพิ่มขึ้น เพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)และเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์จากขยะเปียก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผลและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ประเมินผลและถอดบทเรียน สรุปและจัดทำรายงานโครงการ มีค่าใช้จ่ายดังนี้
๑ อาหารว่าง ๑ มื้อ มื้อละ ๒๕ บาท จำนวน๕ คน เป็นเงิน ๑๒๕ บาท
๒ ค่าจัดทำรายงานโครงการ จำนวน ๒เล่ม เล่มละ ๘๐บาทเป็นเงิน๑๖๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ผลการดำเนินโครงการ
๒. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
๓. ปัญหาและอุปสรรค
๔. บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
285.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,010.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีจำนวนครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)และใช้ประโยชน์จากขยะเปียกเพิ่มขึ้น


>