กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในสังคมปัจจุบัน สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้เข้ามามีบทบาทในด้านการผลิตทางการเกษตร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำรวจพบว่าอัตราเพิ่มของอาหาร(ผลผลิตทางการเกษตร) จะเป็นปฏิภาคกับอัตราการเพิ่มการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ที่สำคัญคือแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีประมาณ 10,000 ชนิด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกร อย่างมากมายในแต่ละปี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งที่มีความอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง สถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนในพื้นที่ตำบลวัดขวาง พบว่าในปี 2563 , 2564 , 2565จากการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตตำบลวัดขวาง พบว่ามีสารพิษตกค้างในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย ร้อยละ 76.54 , 76.26 , 67.77 ตามลำดับ จากการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มลดลง ในปี 2566 ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีทั้งหมดจำนวน3,092คน ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ ในพื้นที่มีอาชีพเกษตรกรรมและมีความเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมี ดังนั้นจึงได้มีการจัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชนเพื่อให้ประชาชนผู้ใช้สารเคมีได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดและเพื่อให้ประชาชนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ร้อยละ 10 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดในระดับที่เสี่ยงที่ไม่ปลอดภัยมีความรู้เรื่องการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถีงอันตรายที่เกิดจากพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 340
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในตำบลวัดขวางโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จำนวน 310 คน

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในตำบลวัดขวางโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จำนวน 310 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ
    1.ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2 x 1.2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท 2.ชุดทดสอบโคลีนเอสเตอร์เรสในเลือด 1 กล่องตรวจ 100 คน ราคากล่องละ 520 บาท จำนวน  5  กล่อง เป็นเงิน 2,600  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 10 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2960.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวางที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวางที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน มื้อ จำนวน  30  คน คนละ50 บาท จำนวน 1 วัน   เป็นเงิน 1,500  บาท
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม  2 มื้อ จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร  ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน  1,800  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถีงอันตรายที่เกิดจากพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย รอบที่ 2

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย รอบที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเป้าหมายที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย รอบที่ 2

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครเข้าร่วมโครงการมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย ร้อยละ 30

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 10 ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสารเคมีในเลือดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถีงอันตรายที่เกิดจากพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครเข้าร่วมโครงการมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย ร้อยละ 30


>