กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนบ้านกองทองร่วมใจลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านกองทอง

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านกองทอง

หมู่ที่ 7 บ้านกองทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ช่วงเวลาที่ผ่านมาในระยะที่ไม่นานเท่าใดนักเมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะพบว่าอัตราการป่วยตายของคนไทย สาเหตุสำคัญเกิดจากโรคภัยที่เป็นผลมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้นซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเรียกว่าพฤติกรรมเสี่ยงก็ว่าได้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์เช่น การอุปโภคบริโภคการพบปะสังสรรค์ในกลุ่มมนุษย์ การขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น การขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนที่ไม่ปลอดภัยจนส่งผลให้ เกิดอุบัติเหตุขึ้นนั้นนับเป็นความสูญเสียอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนใน ช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลปีใหม่มีการเกิดอุบัติเหตุในแต่ละปีเป็นมากอุบัติเหตุเหล่านี้ มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ (2) ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ (3) ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และ (4) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ อุบัติเหตุที่เป็นผลมาจาก ปัจจัยทั้ง 4 ข้างต้นนี้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่ตี ค่าเป็นตัวเงินหรือความเสียหายที่ไม่อาจตีค่าเป็นตัวเงินได้จากความสูญเสียดังกล่าวนับว่าเป็นภัยอย่างร้ายแรง ที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคมในภาพรวม ซึ่งรัฐบาลในยุคที่ผ่านมาจวบจนถึงรัฐบาลในยุคปัจจุบันได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะทำการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนมิให้เกิดขึ้นหรือให้เกิดขึ้นได้ในจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังที่ปรากฏตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 รัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนระดับจังหวัดและอำเภอ โดยเน้นการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสำคัญเป็นหลักด้วยมาตรการต่างๆที่ภาครัฐพยายามคิดรูปแบบและนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมแต่เมื่อพิจารณาถึงจำนวนสถิติที่ผ่านมากลับพบว่าจำนวนอุบัติเหตุบนท้องถนนก็ยังเกิดขึ้นให้เห็นโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญซึ่งมีจำนวนผู้ใช้รถใช้ถนนมากกว่าปกติทั้งนี้เมื่อพิจารณาแล้ว การดำเนินการโดยภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอ ในยุคปัจจุบันควรที่จะคิดรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะการนำภาคประชาชนในท้องถิ่นที่มีความพร้อมหรือมีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุอีกทางหนึ่ง จากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของหมู่ที่ 7 บ้านกองทอง จำนวน 5ครั้งในปี 2565 ที่ผ่านมา และจากการสำรวจพบจุดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจำนวน8จุด ทางคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านกองทอง เห็นความสำคัญเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัยและมีสัญลักษณ์เตือนตามจุดเสี่ยงทางแยกทางโค้งในชุมชนจึงได้จัดทำโครงการชุมชนบ้านกองทองร่วมใจลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนคณะกรรมการและประชาชนแกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนมีความรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนของชุมชน

คณะกรรมการและประชาชนแกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนมีความรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนของชุมชน

0.00
2 ประชาชนแกนนำมีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนแก้ไขจุดเสี่ยงในป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไขและอุบัติเหตุทางถนนในเขตชุมชนบ้านกองทอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะกรรมการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะกรรมการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เรื่อง การจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน การขับขี่ปลอดภัยและใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้อง เป้าหมายคือ แกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน จำนวน30 คน - ค่าอาหารกลางวัน1 มื้อ จำนวน30คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 1,500บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม2 มื้อ จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าวัสดุ
* ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360บาท * ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 0.8 x 1 เมตร จำนวน 4 ป้าย ป้ายละ 120 บาท เป็นเงิน 480บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะกรรมการและประชาชนแกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนมีความรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5640.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะกรรมการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะกรรมการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เรื่อง การกำหนดจุดเสี่ยง วางแผนแก้ไขจุดเสี่ยงในชุมชน และทำสัญลักษณ์เตือนตามจุดเสี่ยง เป้าหมาย  คือ แกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน จำนวน  30 คน - ค่าอาหารกลางวัน  1 มื้อ จำนวน  30  คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 1,500  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  2 มื้อ จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าวัสดุในการฝึกอบรม  เป็นเงิน 3,630 บาท
     1.สีน้ำมันสีขาว ขนาด  3.5 ลิตร  จำนวน 3 กระป๋อง กระป๋องละ 380 บาท เป็นเงิน 1,140  บาท      2.สีน้ำมันสีแดง ขนาด  3.5 ลิตร  จำนวน 3 กระป๋อง กระป๋องละ 380 บาท เป็นเงิน 1,140  บาท      3.น็อต ขนาด 3 นิ้ว จำนวน 6 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 120 บาท เป็นเงิน 720 บาท      4.แปรงทาสี จำนวน 10 อัน อันละ 45 บาท เป็นเงิน 450 บาท      5.กระดาษกาวย่น ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 6 ม้วน ม้วนละ 30 บาท เป็นเงิน 180 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การกำหนดจุดเสี่ยง วางแผนแก้ไขจุดเสี่ยงในชุมชน และทำสัญลักษณ์เตือนตามจุดเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8430.00

กิจกรรมที่ 3 ถอดบทเรียนเรื่องการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนเรื่องการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป้าหมาย  คือ คณะกรรมการและประชาชนแกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนหมู่ที่ 7 บ้านกองทอง   จำนวน  40 คน - ค่าอาหารกลางวัน  1 มื้อ จำนวน  40  คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,000  บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  2 มื้อ จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไขและอุบัติเหตุทางถนนในเขตชุมชนบ้านกองทองลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,070.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการและประชาชนแกนนำลดความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนมีความรู้เรื่องการจัดการความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนของชุมชน
2. จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไขและอุบัติเหตุทางถนนในเขตชุมชนบ้านกองทองลดลง


>