กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน ของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ตำบลตำนาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลตำนาน

โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร

โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

 

0.50
2 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

1.86
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

2.81
4 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

29.74
5 ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี ที่เป็นโรคมือเท้าปากระบาด

 

0.00

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เน้นการพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียนให้สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ อีกทั้งให้นักเรียนทุกคนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี จึงก่อให้เกิดโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้นักเรียนได้รู้จักดูแลสุขภาพของตนเองให้สะอาด ปราศจากโรค และรู้จักป้องกันแก้ไขโรคภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การเรียน การทำงาน ดังนั้นทุกคนจึงควรได้รับความรู้ด้านสุขภาพอนามัยรู้จักดูแลสุขภาพตนเอง ตามที่รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีโครงการส่งเสริมสุขภาพ เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างหลักประกันสุขภาพพื้นฐานโดยมีโรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสุขภาพอนามัยที่อาศัยความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างนักเรียนกับครอบครัว และชุมชน โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงต้องจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น เพื่อสนองนโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

0.50 0.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

1.86 1.00
3 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

2.81 1.50
4 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

29.74 15.00
5 เพื่อลดการเป็นโรคมือเท้าปากของเด็กเล็ก(2-6 ปี)

ร้อยละของเด็กเล็ก 2-6 ปี ที่เป็นโรคมือเท้าปากระบาด

0.00 0.00

1. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดีเหมาะสมตามวัย
2. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ให้เป็นไปตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 177
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/06/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม เผยแพร่ให้ความรู้และรณรงค์ในด้านสุขภาพอนามัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม เผยแพร่ให้ความรู้และรณรงค์ในด้านสุขภาพอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม เผยแพร่ให้ความรู้และรณรงค์ในด้านสุขภาพอนามัยโดยมีงบประมาณ ดังนี้
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 x 2.4 เมตรจำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน500 บาท
- ค่าป้ายความรู้เรื่องสุขภาพแบบโฟมบอร์ดพร้อมด้ามจับ ขนาด 1.0 x 0.5 เมตร จำนวน 3 ป้าย ๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าไวนิลสุขบัญญัติและไวนิลความรู้เรื่องสุขภาพ ขนาด 1x1 เมตร ป้ายละ 150 บาท จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับความรู้และรณรงค์ในด้านสุขภาพอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม นักเรียนปลอดเหา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม นักเรียนปลอดเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม      นักเรียนปลอดเหา     โดยมีงบประมาณ ดังนี้
- หมวกยาง ใบละ 15 บาท จำนวน 20 ใบ                                   เป็นเงิน      300 บาท
- ยากำจัดเหา ขวดละ 100 บาท จำนวน 12 ขวด                         เป็นเงิน   1,200 บาท
- ถุงมืออนามัย กล่องละ ๒๕๐ บาท จำนวน 1 กล่อง                    เป็นเงิน      250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในโรงเรียน ปลอดเหา ทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม หนูน้อยฟันสวย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม หนูน้อยฟันสวย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม     หนูน้อยฟันสวย     โดยมีงบประมาณ ดังนี้
- แปรงสีฟัน อันละ 10 บาท จำนวน 177 อัน                                                                   เป็นเงิน 1,770  บาท
- ป้ายความรู้เรื่องการแปรงฟัน ขนาด 1x1 เมตร ราคาป้ายละ 150 บาท จำนวน 2 ป้าย        เป็นเงิน     300  บาท
- ฟันจำลอง  1 ชุด ๆละ 1,500 บาท                                                                              เป็นเงิน  1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในโรงเรียนมีสุขภาพฟันดี ไม่ผุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,320.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพดีเหมาะสมตามวัย
2. พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนเป็นไปตามสุขบัญญัติแห่งชาติ


>