กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสู้ ความดันโลหิตสูง โดยชุมชน เพื่อชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมุ่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่สงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

13.12

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้นจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกำลังกายเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม การมีสุขภาพจิตที่ดี โดยรพ.สต.ตำบลตะแพน มีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 3 หมู่บ้านมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 2,078 คน ปี 2567มีการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 807คน พบกลุ่มที่มีระดับความดันโลหิต 140/9o มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป (สงสัยเป็นโรค)จำนวน 99 คนคิดเป็นร้อยละ 13.22 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลตะแพน จึงจัดทำโครงการสู้ความดันโลหิตสูง โดยชุมชนเพื่อชุมชน ปี 2567 ขึ้นเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง โดยสามารถป้องกันและควบคุมได้ หากประชาชนมีการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง การป้องกันโรคดังกล่าวอย่างจริงจัง รวมทั้งได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อสามารถควบคุม รักษา และส่งต่ออย่างทันท่วงที ก่อนอาการของโรคยังไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดกับประชาชน1

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนจำนวน60 คน

60.00
2 ผู้ที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเยี่ยมและติดตามวัดความดันโลหิตโดยเจ้าหน้าที่และ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้ที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง  จำนวน 99 คน ได้รับการติดตามเยี่ยมและติดตามวัดความดันโลหิตโดยเจ้าหน้าที่และ  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  คิดเป็น 100%

99.00 99.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ของประชาชนในเขตรับผิดชอบ

จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปี2567 ลดจากปี 2566

11.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 99
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อดำเนินการให้ความรู้แก่กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง และแนวทางการยี่ยมบ้านในวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ซึ่งใช้งบประมาณดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน   60 คน x  1 มื้อ x   60บาท           เป็นเงิน   3,600  บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 60คนx 2มื้อx25บาท      เป็นเงิน   3,000  บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากรในการอบรม    จำนวน  6 ชั่วโมง x 300 บาท                              เป็นเงิน  1,800 บาท 4.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับให้ความรู้ เรื่อง ความดันโลหิตสูง จำนวน 1,100 แผ่นๆละ 1 บาท เป็นเงิน  1,100  บาท รวมเงินทั้งสิ้น 9,500.00 บาท (เก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 พฤษภาคม 2567 ถึง 21 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง นำความรู้ไปแนะนำการดูแลตัวเอง แก่กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมและวัดความดันโลหิตซ้ำแก่กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมและวัดความดันโลหิตซ้ำแก่กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ติดตามเยี่ยมและวัดความดันโลหิตซ้ำแก่กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อาสาสมัครสาธารณสุข ตลอดระยะเวลา  1  สัปดาห์ ช่วงเช้า  และช่วงบ่าย (25 -31 พฤษภาคม 2567 ) - นำผลการวัดความดันโลหิตมาวิเคราะห์ หากพบภาวะความดันโลหิตสูง ดำเนินการส่งต่อพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง โดยไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเยี่ยมและติดตามวัดความดันโลหิตโดยเจ้าหน้าที่และ  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซ้ำ หากพบภาวะความดันโลหิตสูง ดำเนินการส่งต่อพบแพทย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง นำความรู้ไปแนะนำการดูแลตัวเอง แก่กลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน
2. ผู้ที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเยี่ยมและติดตามวัดความดันโลหิตโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซ้ำ หากพบภาวะความดันโลหิตสูง ดำเนินการส่งต่อพบแพทย์
3.. อัตราผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมา


>