กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสังคมใส่ใจคนไทยสุขภาพดี (ชมรม อสม. หมู่ที่ 1)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ชมรม อสม.หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว

1.นางกนกวรรณหลินมา
2.นางสาววิณารัตน์ สาครินทร์
3.นางจุฑามณี บุญพบ
4.นางสาววนิดาสงอักษร
5.นางเรณู ชูเนื่อง

พื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพบว่าประชาชนหมู่ที่1มีความเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องขาดการออกกำลังกาย ไม่ตระหนักต่อการคัดกรองสุขภาพ เนื่องจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ63ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในตำบล พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของตำบล ดังนั้นชมอรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่1 ตำบลบ้านพร้าว จึงได้จัดทำโครงการสังคมใส่ใจ คนไทยสุขภาพดี เพื่อลดความเสี่ยงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตความรับผิดชอบต่อไปและเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพ และสามารถเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขอได้อย่างทั่วถึง

80.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมการตรวจคัดกรองสารเคมีค้างในเลือดของประชาชนในพื้นที่

สามารถตรวจคัดกรองสารเคมีค้างในเลือดได้ตามจำนวนเป้าหมายที่วางไว้

80.00 80.00

ปัจจบัน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเจาะเลือด จำนวน 80 คนๆละ50บ. คิดเป็นเงิน 4000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดร้อยละ 80/ประชาชนในชุมชนได้รับการคัดกรองสารเคมมีตกค้างในเลือดโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ/ประชาชนที่ได้รับการคัดกรองฯ มีสุขภาพที่ดีชึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม.จำนวน1ป้าย คิดเป็นเงิน 450 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน  6 ชมๆละ 300 บาท  คิดเป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท  คิดเป็นเงิน 5,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  80 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท  คิดเป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 /กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11850.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเมล็ดพันธุ์ผัก 80 คนๆละ 1 ซองๆละ 25 บาท   คิดเป็นเงิน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพันธ์ุผักสำหรับปลูกในครัวเรือนอย่างน้อยครัวเรือนละ 1 ซอง/ ประชาชนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทานในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,850.00 บาท

หมายเหตุ :
****ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม****

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน


>