กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเด็ก และเยาวชนตำบลบางตาวารู้ทัน ห่างไกลบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็ก และเยาวชนตำบลบางตาวารู้ทัน ห่างไกลบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา

ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในภาวะปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว ปัญหาต่างๆที่ตอนนี้สังคมไทยยังแก้ไม่ได้อีกมากมาย และในตอนนี้ปัญหาที่หนักหน่วงเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่ง ก็คือ การติดบุหรี่ของคนไทย ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่ ก็ยังไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นอันตรายต่อตนเองมากแค่ไหนเป็นการเพิ่มอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น จึงเป็นอีกปัญหาที่สมควรจะได้รับการแก้ไขอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่โดยการใช้มาตรการหลายอย่าง ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ การออกกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่และนโยบายขึ้นภาษีบุหรี่ แต่จากข้อมูลสถิติชี้ให้เห็นว่า การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ไม่สามารถทำได้ในประชากรทุกกลุ่ม กลุ่มที่น่าเป็นห่วงและต้องรีบดำเนินการแก้ปัญหา คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นอนาคตสำคัญของประเทศมีการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นคือ เพราะบุหรี่เป็นยาเสพติดที่อันตรายมากชนิดหนึ่งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้เสพและคนรอบข้าง ซึ่งจากผลวิจัยบ่งชี้ชัดเจนว่าบุหรี่มีสารที่ทำให้เกิดการเสพติด คือ นิโคติน และทำให้เกิดโรคมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งปอด ปัจจัยที่มีการส่งเสริมให้เริ่มสูบบุหรี่ 1. ความอยากลอง เพราะธรรมชาติของวัยรุ่นมีความอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่าตื่นเต้น และสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ 2. ตามอย่างเพื่อนหรือเพื่อนชวนมีเจตคติที่ว่าถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม 3. ตามอย่างคนในบ้านเพราะเห็นคนในบ้านสูบมาตั้งแต่เด็ก จึงคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา 4. เพื่อเข้าสังคม ซึ่งมีผู้สูบในสังคมนั้น ๆ เชิญชวนให้สูบ บางคนจะสูบเฉพาะในงานสังคมเท่านั้น ทั้งนี้เป็นความเชื่อถ้าไม่สูบจะเข้ากลุ่มไม่ได้และทำธุรกิจไม่สำเร็จ 5. ความเครียด สารนิโคตินในควันบุหรี่เมื่อสูดเข้าร่างกาย ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงหดรัดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้น และกระตุ้นสมองส่วนกลาง ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในระยะต้น แต่เมื่อปริมาณนิโคตินในสมองลดลงจะทำให้ผู้สูบเกิดอาการหงุดหงิดเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องสูบบุหรี่อยู่เสมอเพื่อคงระดับนิโคตินในร่างกาย 6. กระแสของสื่อโฆษณาต่าง ๆ สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจที่จะเชื่อและนิยมชมชอบให้เกิดการอยากลองสูบบุหรี่
จากข้อมูลการคัดกรองประชากรอายุ 15-70 ปี จำนวน 2,223 คน พบว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ 281 คนคิดเป็นร้อยละ 12.64 % (ข้อมูล HDC ปัตตานี : สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี) องค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวาจึงเห็น ถึงความสำคัญและเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ในพื้นที่ตำบลบางตาวา ซึ่งยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ สมควรที่จะต้องดำเนินการแก้ไข และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และห่างไกลจากสารเสพติดและบุหรี่ ตลอดจนให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ห่างไกลจากสิ่งอาบายมุกต่างๆในสังคมปัจจุบัน จึงจัดให้มีโครงการเด็ก และเยาวชนตำบลบางตาวารู้ทัน ห่างไกลบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายจากบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข

ร้อยละ 80เด็กและเยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายจากบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข(แบบสอบถามความพึงพอใจ)

60.00 48.00
2 เพื่อลดจำนวนนักสูบรายใหม่ในเด็กและเยาวชน

จำนวนนักสูบรายใหม่ในเด็กและเยาวชนลดลง

0.00
3 เพื่อรณรงค์ให้ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของโทษและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่

ร้อยละ 50 ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของโทษและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่

100.00 50.00
4 เพื่อบูรณาให้หน่วยงานในพื้นทีกำหนดจุดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่สถานที่ราชการและศาสนสถาน

ร้อยละ 100หน่วยงานราชการและศาสนสถานในพื้นที่เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่

4.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการเพื่อจัดทำคำสั่งและนโยบายกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคำสั่งในการบริหารจัดการยาสูบในพื้นที่ 2.ทุกหน่วยงานมีนโยบายกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยและอันตรายบุหรี่ ยาเสพติด และสิ่งอบายมุข จำนวน 60 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยและอันตรายบุหรี่ ยาเสพติด และสิ่งอบายมุข จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการจำนวน 1ป้าย ขนาด 1x3 เมตร     * ค่าอาหารและเครื่องดื่ม(1มื้อ) จำนวน 60 คน x 75 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (2มื้อ) จำนวน 60 คน x 35 บาท x2 มื้อ
  • ค่าวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม     - ค่ากระเป๋าจำนวน 60 ใบ  ใบละ   60 บาท    -  ค่าปากกาจำนวน 60 ด้าม ด้ามละ 10  บาท    -  ค่าสมุดจำนวน 60 เล่ม  เล่มละ 15 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายและมีภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17550.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมและกิจกรรมวิธีการรู้จักปฏิเสธบุหรี่ ยาเสพติด และสิ่งอบายมุขเพื่อสร้างภูมิคุ้มให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมและกิจกรรมวิธีการรู้จักปฏิเสธบุหรี่ ยาเสพติด และสิ่งอบายมุขเพื่อสร้างภูมิคุ้มให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมกีฬาพื้นที่และกิจกรรมให้เด็กแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปฏิเสธบุหรี่ ยาเสพติด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กและเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 2.เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันรู้จักปฏิเสธต่อสถานการณ์เสียง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของโทษและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงพิษภัยและอันตรายและมีภูมิคุ้มกันให้ห่างไกลจากบุหรี่ ยาเสพติดและสิ่งอบายมุข
2. จำนวนนักสูบรายใหม่ในเด็กและเยาวชนลดลง
3. ชุมชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของโทษและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่
4. หน่วยงานราชการและศาสนสถานในพื้นที่เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่


>