กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัย สานสายใยสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

8 หมู่บ้านในเขต อบต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

3.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

4.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

3.00
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

4.00

ตามที่ กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดกรอบและทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยการขับเคลื่อนตามมาตรการ การสร้างความเข้มแข็งระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนทุกกลุ่มวัย การเฝ้าระวัง เตือนภัยและลดปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐานในรูปแบบใหม่ การนำเทคโนโลยีดิจิตัล สำหรับเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ภายใต้การอภิบาลระบบการส่งเสริมสุขภาพและระบบอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสุขภาพทั้งภาวะปกติและภาวะวิกฤติ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพและบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีศักยภาพพร้อมและเพียงพอ สามารถจัดบริการด้านสาธารณสุข การเฝ้าระวังโรค การควบคุมป้องกันโรคและภัยสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ การรักษาพยาบาล การสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยต่างๆให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดการดูแลปัญหาสุขภาพ แบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนภายใต้บริบทของพื้นที่ในการส่งเสริมสุขภาพใน ๕ กลุ่มวัย (กลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ)ให้มีสุขภาพที่ดี เริ่มตั้งแต่ สตรีและเด็กปฐมวัย มีการตั้งครรภ์คุณภาพ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กพัฒนาการสมวัย เด็กวัยเรียน วัยรุ่นเจริญเติบโตเต็มศักยภาพและมีทักษะสุขภาพ วัยทำงานสุขภาพแข็งแรง ฉลาดรอบรู้และ เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีการดำเนินงานพัฒนาให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการจัดกิจกรรมเรียนรู้ ฝึกทักษะ การดูแลสุขภาพ และจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพและการเสริมสร้างสุขภาพอย่างเพียงพอซึ่งจากการสำรวจ ร้อยละประชาชนในพื้นที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับดีขึ้นไป ร้อยละ ๙๓.๐๒ โดยส่วนใหญ่ ร้อยละ ๗๖.๗๔ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือระดับดี ร้อยละ ๑๖.๒๘ ซึ่งในการทำงานที่ผ่านมาได้รับรางวัลชุมชนต้นแบบดีเด่นด้านการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงมีแนวคิดในการพัฒนาต่อเนื่องให้มีทักษะสำหรับการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพในช่วงวัยที่เหมาะสม ที่มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ประสานการทำงานดูแลประชาชนที่บ้านและชุมชนแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” เพิ่มความครอบคลุมให้ได้รับบริการต่อเนื่อง เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และส่งต่อรักษาในโรคซับซ้อนยุ่งยาก และการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะกลุ่มวัยที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการเสียชีวิตแบบ ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญด้านสุขภาพของประชาชน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจะนำไปสู่การดูแลสุขภาพ ตนเองอย่างเหมาะสม ด้วยหลักความรอบรู้ รอบคอบ มีเหตุผล และระมัดระวัง ในการดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน เป็นการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งมิติด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยให้ความสำคัญกับประชาชนทุก กลุ่มวัยส่งเสริมให้ประชาชน ในชุมชนดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ภายใต้บริบทพื้นที่ ทั้งกลุ่มที่มีสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และผู้ป่วยในชุมชนได้รับการ ดูแลที่เหมาะสม ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงาน และชุมชน ให้เป็นชุมชนสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

3.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

3.00 50.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

4.00 50.00
4 เพื่อลดภาวะฟันผุของเด็กวัยเรียน (6 ขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

4.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ นักสุขภาพประจำครอบครัว (อบรมหลักสูตรนักปรับเปลี่ยนพติกรรมสุขภาพ )

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ นักสุขภาพประจำครอบครัว (อบรมหลักสูตรนักปรับเปลี่ยนพติกรรมสุขภาพ )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑๐๐ คนๆละ ๕๐ บ.จำนวน ๒ มื้อ  = ๑๐,๐๐๐ บาท
-ค่าอาหารว่าง จำนวน ๑๐๐ คนๆละ๒๕ บ.จำนวน ๔ มื้อ
= ๑๐,๐๐๐ บาท รวม ๒๐,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 2 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักสุขภาพประจำครอบครัว มีทักษะความรู้ในการปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ ตรวจและรักษาทางทันตกรรมกรณีผิดปกติ นักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ อบต.ควนโดน

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ ตรวจและรักษาทางทันตกรรมกรณีผิดปกติ นักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑-๖ โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ อบต.ควนโดน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑๒๐ คนๆละ ๕๐ บาท (จำนวน ๑ มื้อ)  เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๒๐ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ
เป็นเงิน ๖,๐๐๐ บาท รวม ๑๒,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๘๐ ของการตรวจสุขภาพช่องปาก และวางแผนการรักษาในเด็กวัยเรียน (๔-๑๒ ปี)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เน้นกระบวนการ ๓ อ ๒ ส

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เน้นกระบวนการ ๓ อ ๒ ส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๕๐ คนๆละ ๕๐ บาท (จำนวน ๒ มื้อ)  เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๔ มื้อ
เป็นเงิน ๕,๐๐๐ บาท รวม ๑๐,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2567 ถึง 5 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๑๐๐ ที่พบผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีรูปบบใหม่ หญิงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีรูปบบใหม่ หญิงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๒๐๐ คนๆละ ๕๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ  เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒๐๐ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ
เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท รวม ๒๐,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2567 ถึง 19 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๑๐๐ ที่พบผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 5 จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงการปรับเปลี่ยนพติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดพัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงการปรับเปลี่ยนพติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน ๑๘๐ คนๆละ ๕๐ บาท (จำนวน ๑ มื้อ)  เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๑๘๐ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ
เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท รวม ๑๘,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 2 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ ๖๐ ของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพครอบคลุม ตามเกณฑ์คุณภาพ สามารถดูแล สุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพ ที่พึงประสงค์ตามบริบทของพื้นที่
๒.ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ ครอบคลุมตามกลุ่มวัย ตามสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ


>