กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลานช้าง

ณ.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลานช้าง อบต.ตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตรัสไว้ว่า"หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมาทำมาคิดมาแต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆธนาคารความรู้และเป็นออม

 

90.00

พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงตรัสไว้ว่า ‘’หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมาแต่โบราณกาลจนทุกวันนี้หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญคล้ายๆธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ก้าวหน้าโดยแท้” ช่วงปฐมวัยจึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์ให้ก้าวหน้าและมีคุณค่าต่อสังคมเพราะเซลล์ประสาทในสมองของเด็ก อายุ 3-6 ปี จะมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากหรือเป็นช่วง ‘’หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่จะพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าให้สามารถควบคุมความรู้สึก การคิดและการกระทำหรือเรียกว่าทักษะสมอง EF (Executive Functions) ‘’ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต” เพราะการวางพื้นฐานด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ในช่วงอายุแรกเกิด ถึง 6 ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กนับตั้งแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ที่จะเข้าร่วมในการเตรียมความพร้อมให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและสร้างพฤติกรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับเด็ก โดยมีกิจกรรมและหนังสือนิทานเป็นสื่อสาร สายใยในครอบครัวซึ่งในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 โดยไม่ตกเป็นเหยื่อของผลจากการพัฒนาที่เป็นไปอย่างรุนแรง รวดเร็วและซับซ้อน ครูปฐมวัยจึงมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงที่จะเป็นผู้วางรากฐานให้เด็กสามารถ ‘’คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น อยู่กับคนอื่น และมีความสุขเป็น” โดยผ่านกิจกรรมและสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน ถือว่าเป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จำเป็นพื้นฐานและเอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากตัวเด็กจะได้ประโยชน์ตรงแล้ว ครูยังสามารถให้เด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง ยืมสื่อไปจัดกิจกรรมที่บ้าน หรือชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มาจัดกิจกรรมกับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นอกจากจะพัฒนาความสัมพันธ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กแล้วนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลานช้าง ได้ตระหนักในเรื่องดังกล่าวอย่างยิ่ง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กอยู่ในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขประสบความสำเร็จในชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะสมอง EF โดยการใช้หนังสือนิทานและตัวต่อเป็นสื่อ 2. เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และที่บ้าน 3. เพื่อส่งเสริมให้ครู พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่ 21
  1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีมุมที่ส่งเสริมการรักการอ่าน  2. เด็กทุกคนต้องได้รับการฝังนิทานที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาด้าน EF  3. เด็กมีพัฒนาการตามวัย และมีทักษะความฉลาดทางอารมณ์
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมอง EF
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนเพื่อขอมติเห็นชอบอนุมัติโครงการ

2.ประชุมชี้แจงแก่คณะทำงานระหว่างครูกับหัวหน้าสถานศึกษา

3.ดำเนินโครงการ

3.1 จัดหาสื่อที่เป็นนิทานและตัวต่อที่น่าสนใจ เหมาะสม ที่ส่งเสริพัฒนาการทางด้านอารมณ์ และพัฒนาทักษะสมอง EF

3.2 จัดสภาพแวดล้อม มุมตัวต่อและมุมนิทานให้น่าสนใจ

3.3 จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เทคนิคในการเล่นตัวต่อ และการเล่านิทานที่กระตุ้นความฉลาดทางอารมณ์

4.ติดตามและสร้างเครื่องมือประเมินความพอใจต่อกิจกรรม

5.ประเมินผลและสรุปโครงการ

งบประมาณ

  1. หนังสือนิทาน 135 x 36 = 4,860 บาท
  2. ตัวต่อเหล็ก 3D 216 x 36 =7,776 บาท
  3. จัดทำป้ายไวนิล 1x3.50 =1,050 บาท
  4. อาหารว่าง 75 x25 x2 = 3,750 บาท
  5. ค่าอาหารเที่ยง เด็ก = 36x50=1,800ครูและผู้ปกครอง 39x 80= 3,120 บาท รวมเป็นเงิน 4,920 บาท
  6. ค่าวิทยากร 600 x 6= 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25956.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,956.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเกิดทักษะสมอง EF โดยการใช้ตัวต่อและหนังสือนิทานเป็นสื่อ
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกระบวนการที่ส่งเสริมพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน
3.ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชน มีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเด็กเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่ 21


>