กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

นางสาวกิตติยามากแก้ว / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

เขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แต่ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของตำบลบ้านพร้าว ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ สามี ญาติ ในขณะตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และ แม่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของมารดาที่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้มารดาที่ตั้งครรภ์เจ็บป่วยและคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดมีสุขภาพไม่แข็งแรงและมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม เป็นต้น
จากการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน ปี 2566 พบว่า มีปัญหาหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากการที่หญิงตั้งครรภ์ดูแลตนเองในเรื่องโภชนาการอาหารไม่ดีนักในขณะตั้งครรภ์ รองลงมาคือปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ไม่ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ จากสภาพปัญหาการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาจากเทศบาลตำบลบ้านพร้าว
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชัน ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ภาวะเสี่ยงสูงในหญิงตั้งครรภ์ ประจำปี 2567 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับบริการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ร้อยละ 90 ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับบิการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพ

90.00 90.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองและได้รับบริการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ร้อยละ 90 ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับบิการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพ

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะเสี่ยง ขณะตั้งครรภ์แก่ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ และแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องภาวะเสี่ยง ขณะตั้งครรภ์แก่ผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์ และแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม. จำนวน  1 ป้าย  รวมเป็นเงิน  450 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน  3 ชม.ๆ ละ 600 บาท  รวมเป็นเงิน  1800 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ  25 บาท  รวมเป็นเงิน  2500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองและได้รับบริการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ร้อยละ 90 ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับบิการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะเสี่ยงสูงหญิงตั้งครรภ์และติดตามภาวะเสี่ยงสูงแก่หญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะเสี่ยงสูงหญิงตั้งครรภ์และติดตามภาวะเสี่ยงสูงแก่หญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 5 เครื่องๆละ 1,500 บาท  คิดเป็นเงิน 7500 บาท
  • ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน(50แถบ/กล่อง) 32 กล่องๆละ 350  คิดเป็นเงิน 11200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงมีความรู้เรื่องการดูแลตนเองและได้รับบริการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ร้อยละ 90 ร้อยละ 90 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับบิการการเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ตลอดจนแกนนำสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,450.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงที่ถูกต้อง
2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์
3.หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้ถูกต้อง


>