กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลใส่ใจสุขภาพผู้พิการและผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบ้านพร้าว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

ศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลบ้านพร้าว โดย นางผุสดี ถัดสีทัย

นางผุสดี ถัดสีทัย ตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชน

พื้นที่เขตความรับผิดชอบของศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลบ้านพร้าว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ หรือ “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น กลุ่มผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ สูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความจำเสื่อม ฯลฯ
ผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษตามนโยบายรัฐบาลด้านสาธารณสุข ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข โดยเน้นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม สำหรับผู้พิการก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพเหมือนกับกลุ่มผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นผู้พิการทางร่างกายหรือทางด้านอื่น ๆ ส่งผลทำให้ผู้พิการไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลสุขภาพผู้พิการ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ศูนย์บริการคนพิการเทศบาลตำบลบ้านพร้าวร่วมเทศบาลตำบลบ้านพร้าว และภาคีเครือข่ายได้เล็งเห็นถึงความปัญหาดังกล่าว และให้ความสำคัญกับการดูแลใส่ใจสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการดูแลใส่ใจสุขภาพผู้พิการและผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบ้านพร้าว ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพผู้พิการและผู้สูงอายุ ให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีได้อย่างเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้พิการและผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ

80.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการได้รับการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกต้อง

ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ได้รับการดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างถูกต้อง

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพของผู้พิการและผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายโครงการฯ 1x3 ม. จำนวน 1 ป้าย คิดเป็นเงิน 450 บาท ค่าวัสดุโครงการ (ค่าสมุด/ปากกา/กระเป๋า) คิดเป็นเงิน 1,000 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชมๆละ 600 บาท คิดเป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 70 บาท คิดเป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ผู้ที่พิการและผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,450.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพและมีปฏิสัมพันธ์ ตระหนักถึงความสำคัญในการอยู่ร่วมกัน ภายใต้ครอบครัวและสังคม
2. ผู้พิการและผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวันได้


>