กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการธนาคารสร้างสุขชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ให้ยืมใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการเทศบาลเมืองสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเรื้อรังเป็นโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพ อันดับหนึ่งของโลก ทั้งในมิติของจำนวนผู้เสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประชากรทั่วโลกร้อยละ 71 เสียชีวิตจากโรคเรื้อรัง สำหรับ ประเทศไทยพบว่าแนวโน้มการเจ็บป่วยของประชากรด้วย โรคเรื้อรังและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มวัยที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากกว่าประชากร กลุ่มอื่นและจำนวนโรคเรื้อรังที่เป็นจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุเมื่อมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ มีโอกาสจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทุพลภาพ มีความพิการ มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว และหากไม่ได้รับการดูแล หรือการฟื้นฟูสภาพที่ถูกต้อง ส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด
สถานการณ์ผู้สูงอายุป่วยติดเตียงของประเทศไทย จากการสำรวจในปี พ.ศ.2565 พบมีผู้สูงอายุป่วยติดเตียงจำนวน 255,327 คน การดูแลผู้ป่วยติดเตียงระยะยาวส่งผลต่อผู้ดูแล และครอบครัวเป็นอย่างมากเพราะผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถ ช่วยเหลือตัวเองได้จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งด้านการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลและการดูแลรักษา ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการดูแลผู้สูงอายุป่วยติดเตียง ในระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) โดย ให้ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานระดับท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนร่วม ทั้งนี้ก็ยังพบปัญหาบางส่วน เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการฟื้นฟูสภาพร่างกายให้เหมาะสมเช่น เบาะลม รถเข็นไม้เท้าต่างๆ เตียงแคร่ เป็นต้น
ในตำบลสะเตงนอก มีจำนวนผู้ป่วยทีมีปัญหาทางการเคลื่อนไหว ติดบ้าน ติดเตียง ประมาณ 130 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมารับการรักษาที่ศูนย์บริการเวชกรรมฟื้นฟูเทศบาลเมืองสะเตงนอก โดยผู้ป่วยบางคนยังขาดแคลนอุปกรณ์ในการช่วยเหลือตัวเอง และมีฐานะยากจน ต้องยืมใช้จากผู้อื่น และสถิติผู้ป่วยรายใหม่ที่จำหน่ายออกจากรพ.ยะลา มีจำนวนเฉลี่ยอย่างน้อย 5 ราย/เดือน และจากผลการสำรวจความต้องการอุปกรณ์ในผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว ยังมีผู้ป่วยอีก 30 รายต้องการอุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน
ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ เป็นศูนย์ที่ตั้งขึ้นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตในสังคมได้ปกติ จึงเห็นความสำคัญของปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว ผู้พิการ โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการธนาคารสร้างสุขชุมชน สนับสนุนอุปกรณ์ให้ยืมใช้เพื่อฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน เพื่อบรรเทาทุกข์ของประชาชนที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว สามารถมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการฟื้นฟูสุขภาพร่างกายที่บ้าน จนกว่าสุขภาพจะดีขึ้น หรือแม้จะเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตให้ไม่ต้องทนทุกข์ ทรมานกับการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างอนาถาเกินไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ฟื้นฟูที่จำเป็น ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน

1.ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ขาดแคลนอุปกรณ์ฟื้นฟูที่จำเป็น มีอุปกรณ์ช่วยฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความพิการ และลดภาวะพึ่งพิงได้
  1. ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพอย่างต่อเนื่อง มีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น  (Barthel ADL index)
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 30
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ชื่อกิจกรรม
ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พร้อมทีมสหวิชาชีพทางสาธารณสุข (พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด อสม. เป็นต้น) เพื่อประเมินสุขภาพ และสอนให้ความรู้ในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน และการใช้อุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่ถูกต้อง   (ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน ให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวยืมใช้ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตนเองที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้ออุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพที่บ้าน ให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวยืมใช้ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพตนเองที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไม้เท้าอลูมีเนียมแบบสามขา     จำนวน 5 อัน  อันละ 600 บาท              เป็นเงิน  3,000 บาท
  • ไม้เท้าช่วยเดิน 4 ขา (Walker)  จำนวน 5 อัน  อันละ 700 บาท              เป็นเงิน  3,500 บาท
  • รถนั่งคนพิการชนิดพับได้         จำนวน 3 อัน อันละ 4,500 บาท            เป็นเงิน 13,500 บาท
  • เบาะลม                             จำนวน 3 ชุด ชุดละ 4,500 บาท            เป็นเงิน 13,500 บาท
  • เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร      จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,1000 บาท   เป็นเงิน 21,000 บาท
  • ชุดถังออกซิเจนทางการแพทย์ ขนาด 1.5 Q พร้อมรถเข็น       จำนวน 2 ชุด ชุดละ 6,500 บาท             เป็นเงิน 13,000 บาท
  • เตียงผู้ป่วยปรับมือ 2 ไกร์        จำนวน 2 เตียง เตียงละ 16,500 บาท      เป็นเงิน 33,000 บาท
  • เตียงแคร่ไม้ไผ่                     จำนวน 5 เตียง เตียงละ 1,000 บาท          เป็นเงิน  5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
105500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 105,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหว และผู้ป่วยโรคเรื้อรังทีไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ มีอุปกรณ์ฟื้นฟูสุขภาพตนเองที่จำเป็น และสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ดีขึ้นได้


>