กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย

นายกฤษณัฏฐ์ นนทแก้ว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น โรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในช่วงฤดูฝนและมาตรการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการ การควบคุมยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค หลักในการควบคุมโรคเป็นการยากหากจะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย จึง จัดทำโครงการ "โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567" เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนได้เห็นความสำคัญและสร้างมาตรการทางสังคมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

80.00 80.00
2 เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ (Second generation case)

ไม่มีผู้ป่วยระบาดซ้ำ (Second generation case)

80.00 80.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน โรงเรียน และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

หมู่บ้าน/ชุมชน  มีค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI)  ไม่เกินร้อยละ 10  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย(CI=0)  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงล่วงหน้าโดยการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอมๆ ละ 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงล่วงหน้าโดยการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอมๆ ละ 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุเชื้อเพลิงในการพ่นน้ำยาเคมีช่วงก่อนเปิดเทอม 2 เทอมๆละ 1 ครั้ง จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นเงิน 300 บาท ค่าตอบแทนในการพ่นน้ำยาเคมี ช่วงก่อนเปิดเทอม จำนวน 2 เทอมๆละ 1 ครั้ง จำนวน 3 แห่ง ครั้งละ 300 บาท คิดเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ดำเนินการควบคุมโรคก่อนเปิดเทอม ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดในหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดในหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุเชื้อเพลิงในการพ่นน้ำยาเคมี และสอบสวนโรคช่วงมีการระบาดของโรค และค่าวัสดุและเคมีภัณฑ์ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกประกอบด้วย คิดเป็นเงิน 3,000 บาท ค่าไฟฉายจำนวน 10 กระบอกๆละ150 บาท คิดเป็นเงิน 1,500 บาท ค่าโลชั่นทากันยุงชนิดซองจำนวน 500 ซองๆ ละ 10 บาท คิดเป็นเงิน 5,000 บาท
ค่าสเปรย์พ่นยุงขนาด 300 มล. จำนวน 30 กระป๋องๆละ 90 บาท คิดเป็นเงิน 2,700 บาท
ค่าน้ำยาพ่นละอองฝอย ขนาด1 ลิตร จำนวน 2 ขวดๆ ละ 2,800 บาท คิดเป็นเงิน 5,600 บาท ค่าหน้ากากป้องกันสารเคมี จำนวน 1 กล่องๆ ละ 1,000 บาท คิดเป็นเงิน 1,000 บาท ค่าชุดป้องกันส่วนบุคคลในการพ่นน้ำยาเคมี จำนวน 4 ชุดๆละ 500 บาท คิดเป็นเงิน 2,000 บาท ค่าตอบแทนในการควบคุมโรคไข้เลือดออก (การพ่นละอองฝอย+กำจัดลูกน้ำยุงลาย) บ้านผู้ป่วยและบ้านในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย จำนวน 20 ราย ครั้งละ 700 บาท คิดเป็นเงิน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่ได้รับการควบคุมโรคตามมาตรฐานร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34800.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมชี้แจงและติดตาม การกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการสำรวจไขว้ระหว่างเขตรับผิดชอบ ของ อสม. ภายในแต่ละหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงและติดตาม การกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการสำรวจไขว้ระหว่างเขตรับผิดชอบ ของ อสม. ภายในแต่ละหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 65 คนๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท คิดเป็นเงิน 4,875 บาท ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 ม. จำนวน 1 ป้าย คิดเป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมู่บ้าน/ชุมชน มีค่าร้อยละของครัวเรือนที่พบลูกน้ำยุงลาย (HI) ไม่เกินร้อยละ 10 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5325.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,225.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสา่มารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
2. ประชาชนเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการรณรงค์กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
4. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก


>