กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดินจี่

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลดินจี่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยปี ๒๕๕๓ – ๒๕๘๓ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สคช.) โดยใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. ๒๕๕๓ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุทีมีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป สูงถึง ๒๐.๕ ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๓๒ ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด โครงสร้างประชากรไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการลดลงของจำนวนและสัดส่วนของประชากรวัยแรงงานจะกระทบศักยภาพการผลิต นอกจากนี้การเพิ่มประชากรสูงอายุยังสะท้อนการเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลัง จากจำนวนประชาการที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพ นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความมั่นคงทางรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจากครอบครัวยากจน นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาทักษะในการทำงาน การดำรงชีวิตในสังคมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในขณะผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ยังไม่มีส่วนร่วมในการทำงานและพัฒนาประเทศเท่าที่ควร
สถานการณ์ด้านสุขภาพผู้สูงอายุไทยร้อยละ ๙๕มีความเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๔๑โรคเบาหวานร้อยละ ๑๐ โรคเข่าเสื่อม ร้อยละ ๙ เป็นผู้พิการ ร้อยละ ๖ โรคซึมเศร้า ร้อยละ ๑ และผู้ป่วยนอนติดเตียง ร้อยละ ๑ ขณะที่มีเพียง ร้อยละ ๕ เท่านั้นที่ไม่เป็นโรคและปัญหาสุขภาพดังกล่าว ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการสุขภาพเพียงร้อยละ ๕๖.๗(รายงานสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี ๒๕๕๖ : กรมอนามัย ร่วมกับ HITAP และ สปสช.) มีผู้สูงอายุอยู่คนเดียว จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ คน หรือร้อยละ ๗.๗ และอยู่ลำพังกับคู่สมรส จำนวน ๑.๓ ล้านคน หรือ ร้อยละ ๑๖.๓๓ ในปี ๒๕๕๕
กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มศักยภาพ นโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญโดยได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และ สปสช. เพื่อสนับสนุนให้ อปท. สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในความรับผิดชอบได้ และข้อตกลงการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช. เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณให้หน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตตำบลดินจี่ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด ๗๙๘ คน เป็นผู้สูงอายุภาวะพึงพิงจำนวน๑๒คนเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่ม ๑ จำนวน ๘ คน กลุ่ม ๒ จำนวน ๑ คน กลุ่ม ๓ จำนวน ๓ คน กลุ่ม ๔ จำนวน ๐ คน บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของครอบครัว และชุมชนซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของครอบครัวเนื่องจากผู้ดูแลบางคนต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง และปัญหาระดับประเทศชาติคือภาระค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อน
จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลดินจี่และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดินจี่ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง และเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ ที่มุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อเนื่องจากปีที่แล้วจึงได้จัดทำโครงการ “ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑” ขึ้น เพื่อให้บริการดูแลด้านสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลดินจี่ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๑.เพื่อให้ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจากผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver)และทีมหมอครอบครัว โดยให้บริการดูแลด้านสุขภาพที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น
๒.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ช่วงบั้นปลายของชีวิต
๓.เพื่อพัฒนางานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 12
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่

ชื่อกิจกรรม
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลดินจี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการดำเนินงาน ๑.  สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง โดยใช้แบบประเมิน ความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)
๒.  วิเคราะห์และจัดทำทะเบียนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ๔ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่มที่ ๒  เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่มที่ ๓ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง กลุ่มที่ ๔ เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกินหรือการขับถ่าย และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต ๓.  ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ประเมินสภาพปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อวางแผนและจัดทำแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) โดยรูปแบบ กิจกรรมการให้บริการและความถี่ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของผู้สูงอายุแต่ละรายเป็นสำคัญ ๔.  จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลดินจี่ ร่วมกับผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) เพื่อร่วมกันพิจารณาแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan) โดยวางแผนการออกบริการดูแลที่บ้าน (Care Plan) ตามเกณฑ์ ดังนี้


๔.๑ สำหรับ Care Giver กลุ่มที่ ๑  ออกบริการดูแลที่บ้าน  ๑  ครั้ง/สัปดาห์ กลุ่มที่ ๒  ออกบริการดูแลที่บ้าน  ๒  ครั้ง/สัปดาห์ กลุ่มที่ ๓ และ ๔ ออกบริการดูแลที่บ้าน  ๓ ครั้ง/สัปดาห์ ๔.๒ สำหรับบุคคลากรสาธารณสุข/สหวิชาชีพ กลุ่มที่ ๑  ออกบริการดูแลที่บ้าน  ๑  ครั้ง/เดือน กลุ่มที่ ๒  ออกบริการดูแลที่บ้าน  ๑  ครั้ง/เดือน กลุ่มที่ ๓ และ ๔ ออกบริการดูแลที่บ้าน  ๒ ครั้ง/เดือน ๔.๓ สำหรับบุคคลากรสาธารณสุข/ผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (care manager) ออกประเมินก่อนให้บริการและวางแผนการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข  ๑  ครั้ง/ปี ออกประเมินผลการดูแลและปรับแผนการให้บริการ
กลุ่มที่ ๑  ประเมินผลการดูแล  ๖ เดือน/ครั้ง กลุ่มที่ ๒  ประเมินผลการดูแล  ๓  เดือน/ครั้ง กลุ่มที่ ๓ และ ๔ ประเมินผลการดูแล  ๓  เดือน/ครั้ง ๕.  จัดทำข้อเสนอการจัดบริการและแผนงานโครงการ เสนอคณะอนุกรรมสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลดินจี่ เพื่อพิจารณาอนุมัติงบประมาณ
๖.  ออกให้บริการดูแลที่บ้านตามแผนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง รายบุคคล (Care Plan) ๗.  บันทึกรายงานตามระบบบันทึกข้อมูล
๘.  Care Manager  สรุปและประเมินผลการออกให้บริการที่บ้าน ๙.  ประสานงานส่งต่อผู้สูงอายุ ในรายที่ต้องการการดูแลจากหน่วยงานหรือสถานบริการอื่นๆ ๑๐. นิเทศและติดตามประเมินผลโดยทีมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลดินจี่ และคณะอนุกรรมสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลดินจี่ ๑๒.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึงพิง (Long Term Care) และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ Care Giver ที่ปฏิบัติงานได้ยอดเยี่ยม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47560.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,560.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการที่มีคุณภาพที่บ้าน ได้ทั่วถึงมากขึ้น
2. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี เข้าถึงบริการอย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียมกัน เป็นการสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทร
3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น จากกลุ่มติดเตียง เป็นติดบ้าน และจากกลุ่มติดบ้าน เป็นติดสังคม
4. ตำบลดินจี่ มีแนวทางในการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ภายใต้ระบบสุขภาพ


>