กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะซีดในตำบลตุยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากคำสอนของศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยากต่อการส่งเสริมการคุมกำเนิด ทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูง ส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์เสี่ยงในพื้นที่สูงเช่นกัน งานอนามัยแม่และเด็กจึงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญจนถึงทุกวันนี้ ในอำเภอหนองจิกเองปีงบประมาณ 2560 ยังพบมารดาเสียชีวิตถึงสองราย จากสาเหตุที่ป้องกันได้ คือการตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้ยังพบการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณทั้งที่มีความเสี่ยงสูง อัตราการมาฝากท้องก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของประเทศทำให้ระยะเวลาในการดูแลก่อนคลอดมีน้อย ในด้านผดุงครรภ์โบราณได้มีการตกลงหาแนวทางร่วมกันกับผดุงครรภ์โบราณและกำหนดนโยบายและแผนงานเพื่อให้คลอดอย่างปลอดภัยและลดอัตราการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณซึ่งจะนำเพิ่งนำมาใช้ กรกฎาคม 2560 และรอประเมินผลอยู่ แต่ภาวะซีดเรามีนโยบายต่างๆโดยเฉพาะการให้ความรู้มานานมากแต่ยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะซีดหญิงตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อตัวหญิงตั้งครรภ์เองและบุตรในครรภ์ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้ถึง2เท่า สุขภาพทั่วไปอ่อนแอ อ่อนเพลียง่าย ภูมิต้านทานต่ำลงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักบุตรแรกคลอดน้อย ตกเลือดหลังคลอด(อุ่นใจ กออนันตกุล และคณะ,254๙) จึงอยากวิเคราะห์หาสาเหตุว่าจริงๆๆแล้วก่อนตั้งครรภ์ หญิงวัยเจริญพันธ์มีภาวะซีดตั้งต้นอยู่เท่าไหร่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอะไร ในระยะตั้งครรภ์ต้องการวิเคราะห์สาเหตุรายบุคคล ให้ความรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละครอบครัวและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาของอำเภอหนองจิกต่อไป
๑.๒ สภาพปัญหา เมื่อทบทวนผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กตำบลตุยงปี ๒๕๕๙และปี ๒๕๖๐ พบว่าอัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ยังมีถึง๒๑.๓%,๒๒.๕% ตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ แต่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๒ มีถึง ๒๖.๐๓%,๕๒% ตามลำดับ อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดทั้ง๒ครั้งคิดเป็น ๘.๒๒%,๒๒% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของประเทศและปัญหาทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์๑๒สัปดาห์ยังน้อยกว่า๘๐%

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและให้การรักษาภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ ที่อยู่กินกับสามี

หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ๑๕-3๐ปีที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและหากมีภาวะซีดได้รับการรักษาไม่ น้อยกว่า ๘๐

50.00
2 เพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และสาเหตุที่ทำให้การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ
  1. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ ไม่เกินร้อยละ ๑๐
  2. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ แต่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๒ ไม่เกิน ร้อยละ๓๐
  3. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดทั้ง๒ครั้ง ไม่เกินร้อยละ๕๐
50.00
3 เพื่อให้ความรู้ด้านโภชการให้เหมาะกับแต่ละบุคคล กระตุ้นให้รับประทานยาบำรุงเลือดสม่ำเสมอโดยมี ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแล

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ๑๕-3๐ปีที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและหากมีภาวะซีดได้รับการรักษาไม่ น้อยกว่า ๘๐ 2. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ ไม่เกินร้อยละ ๑๐ 3. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๑ แต่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดครั้งที่๒ ไม่เกิน ร้อยละ๓๐ 4. อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดในการตรวจเลือดทั้ง๒ครั้ง ไม่เกินร้อยละ๕๐

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมด้านโภชนาการและการรับประทานยาให้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและครอบครัวและเครือข่ายแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมด้านโภชนาการและการรับประทานยาให้กับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและครอบครัวและเครือข่ายแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน
    50บาท.x50คน = 2,500  บาท
  • ค่าอาหารว่าง
    25บาท.x 2 x 50คน   = 2500    บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ด้านโภชนาการที่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพของตัวเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและผู้ดูแลโดยเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (นอกเวลาราชการ)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและผู้ดูแลโดยเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (นอกเวลาราชการ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน
    50 บาท x 10 คน x 5 ครั้ง = 2500 บาท
  • ค่าอาหารว่าง
    25 บาท x 2 มื้อ 10 คน x 5 ครั้ง = 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้มีการติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดและผู้ดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่อยู่กินกับสามีได้รับการคัดกรองและให้การรักษาภาวะซีด
2. รู้สาเหตุของภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และสาเหตุที่ทำให้การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ
3. เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านโภชการให้เหมาะกับแต่ละบุคคลโดยมีครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดูแล


>