กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สุขภาพดีวิถีไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 61

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ รพ.หนองจิก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

40.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

5.00
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

5.00

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือที่เรียกว่าโรควิถีชีวิต 5 โรคได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองและ โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นจากความเจริญทางด้านวัตถุสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมรวมถึงภาวะความเครียดขาดการออกกำลังกายการสูบบุหรี่ดื่มสุราหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยพิการและเสียชีวิตนอกจากนี้ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล
จากสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบหมู่ที่ 8 ตำบลตุยงในปีงบประมาณ 2561จากการคัดกรองประชากรกลุ่ม 35 ปีขึ้นไปจำนวน 815 คนพบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงจำนวน 314 คนกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 241 คนมีภาวะแทรกซ้อน 5 คน พบสงสัยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 12 คน พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 35 คนกลุ่มป่วยเบาหวานจำนวน 87 คนพบมีภาวะแทรกซ้อนจำนวน32 คนเสี่ยงสูงผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน 8 คนผู้ป่วยเป็นทั้งเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 7 คน และจากการประเมินความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลตนเองในกลุ่มประชากร 35 ปีขึ้นไปพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้แต่ยังขาดความตระหนักและทักษะในการปฏิบัติตนขาดแรงกระตุ้น แรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องและขาดความร่วมมือจากผู้ดูแล พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุต้องมีคนดูแลในเรื่องการรับประทานอาหารการประกอบอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นแรงกระตุ้นและจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยปฏิบัติได้จริง
ดังนั้น กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิโรงพยาบาลหนองจิก เล็งเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้นพร้อมจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการและเป็นเอกภาพทุกระดับและให้สามารถผลักดันสู่การปฏิบัติการให้เกิดผลสำเร็จเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อนลดการพิการลดการตายลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคลครอบครัวชุมชนสังคมและประเทศเพื่อก้าวสู่วิถีชีวิตพอเพียงสุขภาพพอเพียงระบบสุขภาพพอเพียงและสังคมสุขภาวะภายใต้สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและด้านปฐมภูมิโรงพยาบาลหนองจิก จึงได้นำเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติจัดทำโครงการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทยลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ประชาชนหมู่ที่ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ความตระหนักในการดูแลตนเองลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ลดการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

40.00 35.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

40.00 35.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

5.00 3.00
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

5.00 40.00
5 เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและจัดกลุ่มเฝ้าระวังในปิงปองจราจร ๗ สี

เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและจัดกลุ่มเฝ้าระวังในปิงปองจราจร ๗ สี

50.00
6 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มป่วยมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มป่วยมีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

50.00
7 เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนของคณะกรรมการภาคีเครือข่ายของกองทุนสุขภาพ อบต.ตุยง

เพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนของคณะกรรมการภาคีเครือข่ายของกองทุนสุขภาพ อบต.ตุยง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับภาคีเครือข่ายคืนข้อมูลแก่ชุมชนหมู่ที่ 8 จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับภาคีเครือข่ายคืนข้อมูลแก่ชุมชนหมู่ที่ 8 จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน       จำนวน 50 คน X ๕๐ บาท
          เป็นเงิน 2,500 บาท   2. ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม       จำนวน 50 คน X ๒๕ บาท X 2 มื้อ
          เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดทำเวทีประชาคมร่วมกับภาคีเครือข่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองภาวะเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมาย ๓๕ ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการพร้อมแยกกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยในการเฝ้าระวังและดูแลในปิงปองจราจร ๗ สี จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมาย ๓๕ ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการพร้อมแยกกลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยในการเฝ้าระวังและดูแลในปิงปองจราจร ๗ สี จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

   1. ค่าอาหารกลางวัน       จำนวน 50 คน X ๕๐ บาท x 2 ครั้ง       เป็นเงิน 5,000 บาท   2. ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม       จำนวน 50 คน X ๒๕ บาท X 4 มื้อ
      เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย/ผู้ดูแลและอสม. ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมสรุปผล

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย/ผู้ดูแลและอสม. ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมสรุปผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน       จำนวน 50 คน X ๕๐ บาท
          เป็นเงิน 2,500 บาท   2. ค่าอาหารว่าง เครื่องดื่ม       จำนวน 50 คน X ๒๕ บาท X 2 มื้อ
          เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย/ผู้ดูแลและอสม. ผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อมสรุปผล 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองสุขภาพและแยกกลุ่มเฝ้าระวังปิงปองจราจร ๗ สี
2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนและอัตราเสียชีวิตลดลง
๓. ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนต้นแบบและชุมชนต้นแบบได้อย่างยั่งยืน
4. คณะกรรมการและภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่อง


>