กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง ปี ๒๕๖๑

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.79
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

11.44

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเขา มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ2561 ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

11.44 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

22.79 20.00

1.เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและ/หรือโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้/ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2018

กำหนดเสร็จ 31/12/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแก่ อาสาสมัครสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจง อสม. ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการ แนวทางการคัดกรองและประชาสัมพันธ์ เพื่อขอความร่วมมือสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพ
  2. คัดกรองประชากรกลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน80 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 4,800 บาท
    • ค่าวัสดุ เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง บุคคลตัวอย่าง และนักโภชนาการ
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วันเป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตามระดับความเสี่ยงของแต่ละราย
  2. กลุ่มสงสัยป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ต้องส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย
    • ค่าติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ 50 คน x 150 บาท = 7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาการกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่เหมาะสม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเมื่อพบโรคจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาโรคตามเกณฑ์มาตรฐานจากแพทย์


>