กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็กบางตาวาพัฒนาการสมวัยสูงดี สมส่วน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา

หมู่ที่ 2 ตำบลบางตาวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ภาวะสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ยังไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย ภาวะโภชนาการของเด็ก มีเด็กผอม และเด็กเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม และเพียงพอ บิดดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-5 ปี)จะพบว่าพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ในช่วงปีที่ผ่านมา จากเด็กทั้งหมด 374 คน ได้รับการเฝ้าระวัง 347 คน คิดเป็นร้อยละ 92.78 คน พบว่ามีเด็กที่มีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน อยู่ที่ 173 คน คิดเป็นร้อยละ 49.85 และจากการตรวจประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ 9,18,30,42 เดือน จากเด็กทั้งหมด 207 คน พบเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย 164 คน คิดเป็นร้อยละ 79.22 และพบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า 43 คน คิดเป็นร้อยละ 20.77 คน ซึ่งทางโรงพยาบาลว่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ ในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการเด็กบางตาวาพัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี มีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน
2. เพื่อให้เด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
3. เพื่อกระตุ้นผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ เกี่ยวกับการดูแลเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงเรื่องการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงเรื่องการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมชี้แจงเรื่องการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการและมีพัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 100 คน โดยจะแบ่งเป็นฐานให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 2.จัดบอร์ดให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา โดยรายละเอียดค่าใช้ที่ใช้ในการอบรม มีดังต่อไปนี้ - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ25 บาท จำนวน 80 คน= เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 80 คน = เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าพาหนะสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท = เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก แล้วแปลผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิง การเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี ของกรมอนามัย และติดตามตรวจประเมินพัฒนาการตามช่วงอายุ 9,18,30,42เดือน ตามแบบประเมิน DSPM โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ - ค่าตอบแทนการติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง จำนวน 80 คนๆละ 100 บาท = เป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีน้ำหนักและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วนเพิ่มมากขึ้น
2. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัยเพิ่มมากขึ้น
3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการดูแลเด็ก 0-5 ปี เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการตามวัย


>