กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อสม.และแกนนำสุขภาพห่วงใยผู้ป่วยใส่ใจผู้ป่วยวัณโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา

หมู่ที่ 2 ตำบลบางตาวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตหากไม่หยุดการแพร่กระจายเชื้อ ร่วมกับเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานอาจจะกลายพันธ์เป็น “ วัณโรคดื้อยาทุกขนาน “ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 ได้กำหนดให้ วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หากพบผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคหรือต้องสงสัยแล้ว ไม่แจ้งพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
การพิจารณาว่าผู้ป่วยมีวัณโรคดื้อยาหรือไม่นั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องส่งตรวจเสมหะ เพื่อทำการเพาะเชื้อวัณโรค และทดสอบความไวต่อยา เพื่อเป็นการบ่งชี้ผลการวินิจฉัยว่ามีเชื้อวัณโรคดื้อยา เช่น วัณโรคปอดดื้อยาอย่างน้อย 2 ขนาน หรือวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก
ตำบลบางตาวา มีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคกำลังรักษา จำนวน 3 ราย และมีเชื้อดื้อยา 1 ราย และมีผู้สัมผัสร่วมบ้านจำนวนหลายรายที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อวัณโรค จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความรู้การป้องกันและดูแลตนเองป้องกันการติดเชื้อวัณโรคร่วมบ้าน โดยที่สามารถร่วมกันทำ ป้องกันได้ เช่น ส่งเสริมการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทำความสะอาดมือ ก่อน และหลังสัมผัสสิ่งต่างๆ ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น หน้ากากอนามัยในแหล่งชุมชน ตรวจสุขภาพประจำปี หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ รวมถึงแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดดื้อยา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.ผู้ป่วยวัณโรคกินยาอย่างถูกต้องต่อหน้าพี่เลี้ยง
2.การดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคจะไม่มีในพื้นที่ตำบลบางตาวา
๓.พี่เลี้ยงกำกับการให้ผู้ป่วยกินยาต่อหน้ามีความรู้ ความสามารถดูแลผู้ป่วยวัณโรคหายขาดจากภาวะเจ็บป่วย
รวมถึงบุคคลใกล้ชิดมีความรู้สามารถป้องกันตนเองและบุคคลในครอบครัวไม่ให้เป็นผู้สัมโรควัณโรคได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 8
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5
กลุ่มวัยทำงาน 17
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 18
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 2
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2017

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีโฟกัสกรุ๊ปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรควัณโรค และวัณโรคดื้อยา

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีโฟกัสกรุ๊ปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรควัณโรค และวัณโรคดื้อยา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 50บาท x70 คน =3,500 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 2มื้อๆละ25บาทx70 คน =3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมย่อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม -ลงติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน รวมทั้งค้นหาคัดกรองผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน -รณรงค์ค้นหาและตรวจเสมหะกลุ่มเสี่ยง ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน รายละเอียดค่าใช้จ่ายมีดั้งต่อไปนี้ -ค่าตอบแทน 100 บาท จำนวน 30 คน = เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าพาหนะ 100 บาท จำนวน 70 คน = เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดการป่วย การตาย การขาดยา การดื้อยา คือ ค้นให้พบ จบด้วยหาย
2.พัฒนาระบบและเครือข่ายการป้องกันดูแลรักษา
3.อสม.และเครือข่ายสุขภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแล ให้คำปรึกษาทางด้านปัญหา สุขภาพ หรือความเจ็บป่วย ภาคประชาชน
4.ประชาชนในพื้นที่ เข้าถึงสถานบริการ และสามารถพึ่งตนเองได้ ทั้งในสถานบริการของรัฐ และในพื้นที่


>